ความรุนแรงในครอบครัว: การวิเคราะห์สาเหตุและการป้องกันปัญหาในสังคมไทย
Keywords:
การป้องกันความรุนแรง, ความรุนแรงในครอบครัวAbstract
ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาเรื้อรังของสังคมไทยมาช้านาน ผลของความรุนแรงในครอบครัวก่อให้เกิดความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจแก่ผู้ถูกกระทำความรุนแรง ทั้งนี้ การอธิบายการก่อรูปของพฤติกรรมความรุนแรงในครอบครัว อธิบายได้โดยแนวคิดทฤษฎีที่หลากหลายทั้งแนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยาและจิตวิทยา ได้แก่ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ทฤษฎีวัฒนธรรมย่อยของความรุนแรง ทฤษฎีปฏิพันธ์เชิงสัญลักษณ์ของครอบครัว ทฤษฎีพัฒนาการครอบครัว ทฤษฎีครอบครัวสตรีนิยม และทฤษฎีเกี่ยวกับทรัพยากร แนวคิดทฤษฎีเหล่านี้อธิบายสาเหตุของความรุนแรงในครอบครัวทั้งในระดับบุคคล ที่มองว่าความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากการที่บุคคลใช้สัญชาตญาณแห่งความก้าวร้าวรุนแรงโดยไม่สามารถใช้เหตุผล และมโนธรรมควบคุมได้ รวมไปถึงการเลียนแบบพฤติกรรมรุนแรงในระดับครอบครัว อธิบายสาเหตุของความรุนแรงว่าเกิดจากการสืบทอดพฤติกรรมและวัฒนธรรมความรุนแรงจากพ่อแม่ ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่จืดจางลง การกดขี่สตรีจากความเชื่อที่ว่าชายเป็นใหญ่ และการจัดสรรทรัพยากรในเชิงการสร้างอำนาจในครอบครัว ในระดับของชุมชน อธิบายสาเหตุของความรุนแรงว่าเกิดจากสภาพชุมชน และวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งนอกเหนือจากนี้ ยังมีสาเหตุความรุนแรงในสังคมระดับมหภาคที่เกี่ยวเนื่องหรือส่งผลให้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวยังคงอยู่ต่อไป จากการอธิบายสาเหตุของความรุนแรงในครอบครัวผ่านมุมมองแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ได้ให้ข้อเสนอการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทย โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1) การป้องกันความรุนแรงในระดับบุคคล เน้นการปลูกฝังการใช้เหตุผลและการส่งเสริมจริยธรรม และการเลือกเลียนแบบพฤติกรรมที่เหมาะสม 2) การป้องกันความรุนแรงในระดับครอบครัว เน้นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว รวมไปถึงการส่งเสริมให้เกิดการส่งผ่านความเชื่อและค่านิยมที่ดีงามและถูกต้องจากรุ่นสู่รุ่น 3) การป้องกันความรุนแรงในระดับชุมชน ที่เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน รวมไปถึงการจัดสภาพชุมชนให้เอื้อต่อการป้องกันปัญหา และ 4) การป้องกันความรุนแรงในระดับชาติ ที่เน้นการบูรณาการการดำเนินงานจากทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งแนวทางทั้งหมดนี้คาดหวังให้เกิดความมั่นคงของสถาบันครอบครัวของสังคมไทยอย่างยั่งยืนตลอดไป
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Behavioral Science Research Institute, SWU
114 Sukhumvit 23, Bangkok 10110, Thailand.
Tel.02-649-5000 # 17600