Causal Relationship Model of Financial Management Behavior with a Buddhist Approach
คำสำคัญ:
การบริหารทรัพย์ตามแนวพุทธ, การเสริมสร้างพฤติกรรมการบริหารทรัพย์, เกษตรกรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการบริหารทรัพย์ตามแนวพุทธ
ของเกษตรกร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เพื่อค้นหาสาเหตุปัจจัยของพฤติกรรมด้วยการสร้างรูปแบบจำลองและตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบจำลองข้อมูลจริงที่สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 450 คน ได้มาจากการสุ่มเป็นแบบแบ่งกลุ่มชนิดขั้นตอนเดียว (One-Stage Cluster Sampling) โดยสุ่มเลือกหมู่บ้านตัวอย่างและเก็บข้อมูลจากเกษตรกรทุกหน่วยในหมู่บ้านที่สุ่มมา
ซึ่งผลการวิจัยนี้ทำให้ทราบเหตุปัจจัยของพฤติกรรมการบริหารทรัพย์ตามแนวพุทธของเกษตรกร และสามารถระบุเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่มีปัญหาในพฤติกรรมการบริหารทรัพย์ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบวัดมาตรวัดประมาณค่า 6 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .805 - .911 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบจำลองตามสมมติฐานที่มีการปรับปรุงแล้วมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า c2 /df = 1.99, RMSEA = .047, GFI = .95, AGFI = .93, PGFI = .62, NFI = .99, TLI = .99, CFI = 1.00, PNFI = .74, RMR = .0065, SRMR = .024 ซึ่งผลลัพธ์ของการทดสอบ พบปัจจัยสำคัญ ๆ ที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการบริหารทรัพย์ตามแนวพุทธของเกษตรกร คือ จริยธรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานของอิทธิพลเท่ากับ .96 ส่วนปัจจัยสำคัญ ๆ ที่มีอิทธิพลทางอ้อม คือ ความรอบรู้
การถ่ายทอดทางสังคม อิทธิพลของสื่อ และความรู้จักคิด โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ .71 .56 .40 และ .29 ตามลำดับ
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
114 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทร 02-649-5000 ต่อ 17600