การรับรู้การลวนลามทางเพศของนิสิตมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

Authors

  • อรพินทร์ ชูชม (Oraphin Choochom)
  • นพวรรณ โชติบัณฑ์ (Noppawan Chotiban)
  • อัจฉรา สุขารมณ์ (Atchara Sukharom)

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสำรวจแหล่งที่มาของการลวนลามทางเพศ พฤติกรรมที่นิสิตมหาวิทยาลัยรับรู้ว่าเป็นการลวนลามทางเพศ ประสบการณ์การลวนลามทางเพศในมหาวิทยาลัย และผลกระทบของการลวนลามทางเพศ

กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี และปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 329 คน และอาจารย์ จำนวน 56 คน เก็บข้อมูลโดยการให้นิสิตและอาจารย์ตอบแบบสำรวจพฤติกรรมการลวนลามทางเพศของไพเออร์ และอีรอส ( Pyor & Eros, 2000 ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงบรรยาย การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า นิสิตและคณาจารย์ส่วนใหญ่ต่างระบุว่าสาเหตุที่เกิดการลวนลามทางเพศในมหาวิทยาลัย เกิดจากการแต่งกายที่ไม่เหมาะสม  พฤติกรรมที่จัดเป็นการลวนลามทางเพศนั้นเป็นพฤติกรรมด้านความเอาใจใส่ทางเพศที่ไม่ต้องการและพฤติกรรมบีบบังคับทางเพศ โดยที่นิสิตไม่ถือว่าพฤติกรรมการก่อกวนทางเพศ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งการดูหมิ่นและความเป็นปรปักษ์ต่อเพศใดเพศหนึ่ง เป็นเรื่องการลวนลามทางเพศ การลวนลามทางเพศส่งผลต่อความรู้สึกทางด้านจิตใจและเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ  และนิสิตมหาวิทยาลัยที่เคยมีประสบการณ์การถูกลวนลามทางเพศที่ได้รับจากอาจารย์ส่วนใหญ่ใช้วิธีการเผชิญปัญหาภายนอก โดยอยู่ห่างจากอาจารย์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

Downloads

How to Cite

(Oraphin Choochom) อ. . ช., (Noppawan Chotiban) น. . โ., & (Atchara Sukharom) อ. . ส. (2012). การรับรู้การลวนลามทางเพศของนิสิตมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. The Periodical of Behavioral Science, 11(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2023