การพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านผู้นำทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และในกำกับของรัฐ

Authors

  • อังศินันท์ อินทรกำแหง (Ungsinun Intarakamhang)
  • ทัศนา ทองภักดี (Tasana Thongpukdee)

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบสมรรถนะที่จำเป็นด้านความเป็นผู้นำทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และเปรียบเทียบเส้นทางและขนาดอิทธิพลระหว่างตัวแปรแฝงในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้นำทางวิชาการ ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย 3 กลุ่ม คือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และในกำกับของรัฐ  รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 638 คนจากมหาวิทยาลัย 17 แห่ง ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัว ตัวแปรสังเกตได้ 15 ตัว เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 6 ระดับ รวม 127 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยโปรแกรม SPSS for windows version 11.0 พร้อมตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า สมรรถนะทั้ง 4 ด้านคือ ด้านการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย มีผลทางตรงและทางอ้อมโดยส่งผ่านสมรรถนะด้านบริการวิชาการ ส่งผลต่อความเป็นผู้นำทางวิชาการของอาจารย์  ทั้งนี้ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้นำทางวิชาการตามสมมติฐานนั้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลความคิดเห็นของอาจารย์ทั้ง 3 กลุ่มตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ นี้สามารถอธิบาย ค่าความแปรปรวนของความเป็นผู้นำทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชนและในกำกับของรัฐ ได้ร้อยละ 69.0, 83.0 และ 85.0 ตามลำดับ และรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ 3 อาจารย์ในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ อยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดด้วยค่า ไค-สแควร์ = 25.50, P-value=0.953,  df = 39, GFI = 0.98, AGFI = 0.94, RMR = 0.017 และ RMSEA = 0.000

Downloads

How to Cite

(Ungsinun Intarakamhang) อ. อ., & (Tasana Thongpukdee) ท. ท. (2012). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านผู้นำทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และในกำกับของรัฐ. The Periodical of Behavioral Science, 11(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2024