การศึกษาความสัมพันธ์ต่างระดับและโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการสื่อสาร การรับรู้การสนับสนุนขององค์การ การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตามและผลการปฏิบัติงานของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม

Authors

  • ปานจักษ์ เหล่ารัตนวรพงษ์ (Panchak Laorattanaworapong)

Abstract

บทคัดย่อ

 

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ 1.) เพื่อศึกษาว่าตัวแปรการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตามของพนักงานในแผนก/ฝ่ายบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์ มีระดับการวิเคราะห์ใด ระหว่างระดับบุคคล (Individual) รายคู่ (Dyad) หรือกลุ่มงาน (Workgroup) 2.) เพื่อศึกษาระดับการวิเคราะห์ของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระแต่ละตัว (ความแตกต่างกันทางชีวสังคม ความสามารถในการสื่อสาร การรับรู้การมอบหมายงานการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ) กับตัวแปรคั่นกลาง (การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม) และตัวแปรคั่นกลางกับตัวแปรตามแต่ละตัว (ความพึงพอใจในงานและผลการปฏิบัติงาน) ว่าเกิดขึ้นในระดับการวิเคราะห์ใด ระหว่างระดับบุคคล รายคู่ หรือกลุ่มงาน  3.) เพื่อศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเส้น (Linear structural relationship) ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม ซึ่งนำไปสู่ผลการปฏิบัติงานและความพึงพอใจของพนักงานแผนก/ฝ่ายบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการในจังหวัดสระบุรี ในระดับการวิเคราะห์ที่ผ่านการทดสอบจากวัตถุประสงค์ข้อ 1 และ 2 ผลการวิจัยพบว่าระดับการวิเคราะห์ของตัวแปรการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตามเกิดขึ้นที่ระดับบุคคล และระดับการวิเคราะห์ของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระแต่ละตัวกับการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม และความสัมพันธ์ระหว่างการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตามกับตัวแปรตามแต่ละตัว    ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระดับบุคคลเช่นกัน จากผลการวิเคราะห์นี้เมื่อทำการวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นจึงประกอบด้วยสองแบบจำลอง ได้แก่ แบบจำลองการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นที่มีตัวแปรการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตามที่พนักงานประเมินเป็นตัวแปรคั่นกลาง และแบบจำลองการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นที่มีตัวแปรการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตามที่หัวหน้าประเมินเป็นตัวแปรคั่นกลาง ซึ่งผลการวิเคราะห์ของทั้งสองแบบจำลองให้ผลแตกต่างกัน

Downloads

How to Cite

(Panchak Laorattanaworapong) ป. . เ. (2012). การศึกษาความสัมพันธ์ต่างระดับและโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการสื่อสาร การรับรู้การสนับสนุนขององค์การ การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตามและผลการปฏิบัติงานของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม. The Periodical of Behavioral Science, 11(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2025