การวิเคราะห์ปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับจิตสํานึกทางปัญญาและคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย

Authors

  • อรพินทร์ ชูชม (Oraphin Choochom)
  • อัจฉรา สุขารมณ์ (Atchara Sukharom)
  • อุษา ศรีจินดารัตน์ (Usa Srijindarat)

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่เสนอและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของจิตสำนึก ทางปัญญาของเยาวชนวัยรุ่น รูปแบบจิตสำนึกทางปัญญาประกอบด้วยการถ่ายทอดทางปัญญาสังคม-อารมณ์ จากบิดามารดา ครูอาจารย์ และเพื่อน รวมทั้งการควบคุมตนเอง มีอิทธิพลต่อจิตสำนึกทางปัญญา และ จิตสำนึกทางปัญญาส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต ความสามารถในการแก้ปัญหา และพฤติกรรมเอื้อสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบรูปแบบนี้ได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1, 2, และ 3) จำนวน 1,312 คน ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยที่ได้จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบพหุตัวแปร และการวิเคราะห์โมเดลเชิงโครงสร้าง พบว่ารูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของจิตสำนึกทางปัญญาได้รับ การสนับสนุนในกลุ่มรวมและเมื่อจำแนกตามเพศ โดยที่ปัจจัยทางจิตสังคม ได้แก่ การถ่ายทอดทางปัญญา สังคม-อารมณ์ของบิดามารดา การปลูกฝังอบรมทางปัญญาสังคม-อารมณ์จากทางโรงเรียน การเห็น แบบอย่างทางอารมณ์และพฤติกรรมจากเพื่อน และการควบคุมตนเอง สามารถร่วมกันพยากรณ์จิตสำนึก ทางปัญญาได้ร้อยละ 69 การถ่ายทอดทางปัญญาสังคม-อารมณ์ของบิดามารดามีอิทธิพลต่อจิตสำนึกทาง ปัญญาของเยาวชนวัยรุ่นมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าทั้งปัจจัยทางจิตสังคมและจิตสำนึกทางปัญญา สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมเอื้อสังคมได้ร้อยละ 60 ความสามารถในการแก้ปัญหาได้ ร้อยละ 32 และคุณภาพชีวิตของเยาวชนวัยรุ่นได้ร้อยละ 69 ข้อค้นพบจากการวิจัยเรื่องนี้ยังแสดงให้เห็น ว่าเยาวชนวัยรุ่นหญิงมีจิตสำนึกทางปัญญาสูงกว่าเยาวชนวัยรุ่นชาย

Downloads

How to Cite

(Oraphin Choochom) อ. ช., (Atchara Sukharom) อ. ส., & (Usa Srijindarat) อ. ศ. (2012). การวิเคราะห์ปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับจิตสํานึกทางปัญญาและคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย. The Periodical of Behavioral Science, 12(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2032