ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทํางานภายหลังเกษียณอายุราชการของข้าราชการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Authors

  • มนัส บุญประกอบ (Manat Boonprakob)
  • พรรณี บุญประกอบ (Pannee Boonprakob)

Abstract

The objectives of this research were to find out variables which could discriminate work behaviors after the government officials’ retirement at Srinakharinwirot University (SWU), and to compare situational factors (work condition, persuasion and social support), psychological characteristics (self esteem, work motivation, and mental health), and situational psychological factors (self efficacy and work attitude) of the retired ones who were different in bio-social characteristics and background (gender, age, education level, academic position, marital status, and income). The population consisted of 281 retired government officials, during 1989-2002. Data were collected from all by using questionnaires which got back and were completed only 211 of them (75.09%). Furthermore, 20 retired government officials were purposive sampling for in-depth interview. Data analysis was done by applying the following statistics: percentage, mean, standard deviation, t-test, analysis of variance, discriminant analysis, and content analysis.

Research findings were as follows:

1. Three variables as discriminant factors were work condition, persuasion, and self -efficacy. They could discriminate samples who worked at higher education institute and other works from the group of not working.

2. The retired government officials who were different in gender, age, education level, and income had self efficacy differently. Furthermore, ones who were different in education level would be different in self - esteem, mental health, and work attitude as well. Finally, ones who had different academic position would get different persuasion.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้เพื่อหาตัวแปรที่เป็นตัวแปรจำแนกประเภทพฤติกรรมการทำงาน ภายหลังการเกษียณอายุของข้าราชการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยสถานการณ์ จิตลักษณะเดิม และจิตลักษณะตามสถานการณ์ของข้าราชการเกษียณอายุที่มีลักษณะทางชีวสังคมและ ภูมิหลังต่างกัน ประชากรประกอบด้วย ข้าราชการบำนาญของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่เกษียณอายุราชการทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการตั้งแต่ปี พ.ศ.2532-2545 จำนวน 281 คน ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรทั้งหมด ได้แบบสอบถามกลับคืนมา 211 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 75.09 และทำการสัมภาษณ์เจาะลึกข้าราชการเกษียณอายุจำนวน 20 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์จำแนก และการวิเคราะห์เนื้อหา

สรุปผลการวิจัย พบว่า

1. ตัวแปรจำแนกพฤติกรรมการทำงานภายหลังเกษียณอายุราชการ ได้แก่ สถานการณ์ในที่ทำงาน การได้รับคำแนะนำชักจูง และการรับรู้ความสามารถของตนในการทำงาน โดยสามารถจำแนกการทำงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ/เอกชน และงานอื่นๆออกจากการไม่ได้ทำงาน

2. ข้าราชการเกษียณอายุที่แตกต่างกัน ทางด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และเงินรายได้ จะมี ความแตกต่างกันในด้านการรับรู้ความสามารถของตนในการทำงาน นอกจากนี้ผู้ที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกันยังมีความแตกต่างกันในเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเอง สุขภาพจิต และเจตคติต่อการทำงาน รวมทั้งผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการแตกต่างกันก็จะได้รับคำแนะนำชักจูงแตกต่างกัน

Downloads

How to Cite

(Manat Boonprakob) ม. บ., & (Pannee Boonprakob) พ. บ. (2012). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทํางานภายหลังเกษียณอายุราชการของข้าราชการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. The Periodical of Behavioral Science, 12(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2033