การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทํางานนอกบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • อังศินันท์ อินทรกําแหง (Ungsinun Intarakamhang)
  • อัจฉรา สุขารมณ์ (Atchara Sukharom)
  • อรพินทร์ ชูชม (Oraphin Chcochom)

Abstract

This study is an explanatory research with the following objectives; a) constructing and developing causal relationship of midlife crisis of married Thai women, b) analyzing indices of midlife crisis of married Thai women , c) finding the interaction between observable variables in each factor influencing midlife crisis perception and d) searching for ways to protect midlife crisis of married Thai women. Sample is married Thai women working in government sector, state- enterprise sector, and private sector in Bangkok and its Periphery, with the age of 35-55 years old, and with at least 1 child, totaling 1,375 persons from 12 organizations. There are 6 latent variables and 18 observable variables. The measuring instrument used for this research is a 244 six-scaled items questionnaire with its reliability between 0.7646 and 0.9531. SPSS for windows version 11.0 is used for rudimentary data analysis. LISREL version 8.72 is used for analyzing confirmatory factor, and the goodness of fit of model. Findings are that Personal factor; bio-data, Neuroticism personality, experience in life loss. Family factor; responsibility in family, marital relationship, Buddhism commitment within family, and family support. Working factor; workload, job promotion, job ambiguity, colleague and boss support. Urban-society factor; neighbor relationship, residential environment. All independent factors have an influence on dependent factor, consisting of two variables, one of which is self-perception on life crisis; stress, coping oriented emotion, and adaptation. The other is impact on individual life crisis; loss of self-esteem, impact on work, and herself violence and others. According to this, the hypothesized midlife crisis causal model was consistent with opinions of married Thai women working in all 3 sample groups. This causal model could explain variance in midlife crisis of married Thai women working in government sector, state- enterprise sector, private sector and total groups at 95%, 84%, 80% and 100% respectively. In addition, causal model was consistent with opinion of total groups at the better criteria level with values of chi-square 1126.01, p-value = 0.00, df = 48, GFI = 0.92, AGFI = 0.70, CFI = 0.96, RMR = 0.15 and RMSEA = 0.12

 

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ เชิงเหตุ ของภาวะวิกฤตชีวิตของสตรีไทยสมรส 2) วิเคราะห์ดัชนีวัดภาวะวิกฤตของสตรีไทยสมรสที่ ทำงานนอกบ้าน และ 3) ศึกษาการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างตัวแปรในแต่ละกลุ่มปัจจัยที่จะส่งผลต่อ ภาวะวิกฤตชีวิตของสตรีไทยสมรสที่ทำงานนอกบ้าน กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มได้แก่ สตรีไทยสมรสซึ่งทำงาน ในหน่วยงานขนาดใหญ่ของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีอายุ 35 - 55 ปี และมีบุตรอย่างน้อย 1 คนรวมจำนวน 1,375 คน จากหน่วยงานทั้งหมด 12 แห่ง ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 7 ตัว ตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัว เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 6 ระดับ รวม 244 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.7646 - 0.9531 และทำการวิเคราะห์ข้อมูล เบื้องต้นด้วยโปรแกรม SPSS for windows v.11 และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและความสอดคล้อง ของโมเดลด้วยโปรแกรม LISREL v.8.72 ผลการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่าง 1) ปัจจัยด้านบุคคล (วัดจาก ตัวแปร บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว และประสบการณ์สูญเสียในชีวิต) 2) ปัจจัยด้านครอบครัว (วัดจากตัวแปร ภาระต่อครอบครัว สัมพันธภาพกับคู่สมรส ความผูกพันทางศาสนาในครอบครัวและการสนับสนุนจาก ครอบครัว) 3) ปัจจัยด้านการทำงาน (วัดจากตัวแปร ภาระงาน ความก้าวหน้าในงาน ความคลุมเครือในงาน และการสนับสนุนจากจากเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา) 4) ปัจจัยด้านสังคมเมือง (วัดจากตัวแปร สภาพแวดล้อมในชุมชนที่อาศัย และสัมพันธภาพกับเพื่อนบ้าน) พบว่า ปัจจัยทั้ง 4 ด้านนั้นมีอิทธิพล ทางตรงและทางอ้อมต่อตัวแปรตามคือ ภาวะวิกฤตชีวิตตามการรับรู้ของสตรีไทยสมรสวัยกลางคน (วัดจาก ตัวแปร ความเครียด การเผชิญปัญหามุ่งปรับอารมณ์และการปรับตัว) และพบว่า เมื่อเกิดภาวะวิกฤตจะส่งผล กระทบให้เกิด การสูญเสียความรู้สึกในคุณค่าของตนเอง ผลกระทบต่อการทำงานและ ความรุนแรงต่อตนเอง ครอบครัวได้ ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุของภาวะวิกฤตชีวิตพบว่า รูปแบบตามสมมติฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม โดยรูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุนี้สามารถอธิบายเพื่อการทำนายค่าความแปรปรวนของภาวะวิกฤตชีวิตของสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และกลุ่มรวมได้ร้อยละ 45, 84, 80 และ 100 ตามลำดับและรูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุของกลุ่มสตรีไทยสมรสวัยกลางคนในกลุ่มรวม มีความ สอดคล้องกับรูปแบบสมมุติฐานอยู่ในเกณฑ์ปานกลางโดยพิจารณาจากดัชนีวัดความพอดี คือ ไค-สแคร์ = 1126.01, p-value = 0.00, df = 48, GFI = 0.92, AGFI = 0.70, CFI=0.96, RMR = 0.15 และ RMSEA = 0.12

Downloads

How to Cite

(Ungsinun Intarakamhang) อ. อ., (Atchara Sukharom) อ. ส., & (Oraphin Chcochom) อ. ช. (2012). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทํางานนอกบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร. The Periodical of Behavioral Science, 12(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2034