ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนและการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Authors

  • ประณต เค้าฉิม (Pranot Kaochim)

Abstract

The purposes of this research were: (1) to study the level of academic achievement, learning behavior, and social support of students in the faculty of Humanities, Srinakharinwirot University, (2) to compare academic achievement, learning behavior, and social support of students in terms of sex and major subject differences, (3) to study the interaction effects of learning behavior and social support on academic achievement, and (4) to predict academic achievement on the basis of learning behavior and social support.

The sample for this research included 294 sophomores who were studying in the academic year 20005 at the faculty of Humanities, Srinakharinwirot University and had already studied 5 general education courses –TH 101: Language Skill 1, TH 102: Language Skill 2, EN 101: English 1, EN 102: English 2, and LIS 101: Information Literacy Skills. The instruments for collecting data were (1) a questionnaire on general personal background information-sex, major subject, and grade in each of the 5 courses, (2) 10 domains of learning scale: Attitude Scale, Motivation Scale, Time Management Scale, Anxiety Scale, Concentration Scale, Information Processing Scale, Selecting Main Ideas Scale, Study Aids Scale, Self Testing Scale, and Test Strategies Scale, and (3) 3 domains of social support questionnaire- family, friend, and university. The statistical methods and procedures for analyzing data were, mean, standard deviation, t-test, one way ANOVA, and Multiple Regression Analysis.

The main findings were as follows:

1. The students’ academic achievement as a whole was found to be at a rather good level; their favorable attitude score on Attitude Scale was high; their moderate score on Time Management Scale, compared to other domains, was relatively low; and their university’s social support was found to be at a moderate level.

2. Female students were not significantly better than male students in academic achievement as a whole and in each of the 5 general education courses, whereas female students were significantly higher than male students at the .05 level in learning behavior as a whole and in some domains: attitude, motivation, time management, concentration, selecting main ideas, study aids, and self testing. The results also showed that female students received family’s social support and peer’s social support more than male students at the .05 level.

3. A significant major subject difference at the .05 level was found in academic achievement as a whole and in each of the 5 general education courses, but not found in their learning behavior and social support.

4. There was no significant interaction effect of learning behavior and social support on academic achievement.

5. Motivation is only one domain of learning behavior that could significantly predict total academic achievement at the .05 level.

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการเรียนและ การสนับสนุนทางสังคม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการเรียน และการสนับสนุนทาง สังคม ระหว่างนิสิตที่มีเพศต่างกันและเรียนวิชาเอกต่างกัน 3) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียน และการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) ทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ตัวแปร พฤติกรรมการเรียนและการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวทำนาย กลุ่มตัวอย่าง คือนิสิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่กำลังเรียนชั้นปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2548 และผ่านการเรียนวิชาศึกษาทั่วไปใน ชั้นปีที่ 1 มาแล้ว 5 รายวิชา รวมจำนวนนิสิตในกลุ่มตัวอย่าง 294 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถาม 3 ชุด คือ (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัวทั่วไป (2) แบบสอบถามพฤติกรรมการเรียน 10 ด้าน (3) แบบสอบถามการ สนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว จากเพื่อน และจากมหาวิทยาลัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t –test) สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว สถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้

1. นิสิตมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมทุกวิชาอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี มีทัศนคติทางการเรียนที่ดี แต่ มีการบริหารเวลาในการเรียนอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลางค่อนข้างต่ำกว่าด้านอื่น ๆ และได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากมหาวิทยาลัยในระดับปานกลาง

2. ไม่พบว่านิสิตหญิงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมทุกวิชาและรายวิชาดีกว่านิสิตชาย อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่นิสิตหญิงมีพฤติกรรมการเรียนโดยรวมและบางด้านเหมาะสมมากกว่านิสิต ชาย และได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและจากเพื่อนมากกว่านิสิตชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

3. นิสิตที่เรียนในสาขาวิชาเอกต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งรายวิชาและรวมทุกวิชาแตกต่างกัน แต่มีพฤติกรรมการเรียนและได้รับการสนับสนุนทางสังคมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับการได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งรายวิชาและรวมทุกวิชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. แรงจูงใจทางการเรียน เป็นตัวแปรด้านพฤติกรรมการเรียนเพียงตัวเดียวที่เข้าทำนายผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Downloads

How to Cite

(Pranot Kaochim) ป. เ. (2012). ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนและการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. The Periodical of Behavioral Science, 12(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2035