การพัฒนากลวิธีในการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการมี ส่วนร่วม : กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสในจังหวัดกาฬสินธุ์

Authors

  • วรรณชนก จันทชุม (Wanchanok Chantachum)

Abstract

The purpose of this research was to develop effective smoking-prevention strategies among students in real situation. Research process utilized action research to encourage stakeholders to develop smoking-prevention strategies among 188 male and female students (Pathom 5-6 and Mathayom1-3) in Hua Na Kam Charoonsil School, Yang Talad District, Kalasin Province. Data was obtained by quantitative and qualitative methods. Quantitative tools were questionnaires of knowledge, attitude, decision making skill, refusal skill, self-efficacy, and prevention behavior. Qualitative methods were focus group discussion, in-depth interview, and participation observation. The research process was divided into 3 phases including preparation phase, action phase, and final phase.

The results revealed that smoking-prevention strategies were to encourage all stakeholders including students, families, school, community, and government officers to participate in the processes of problem investigation, plan of action by setting activities or projects, implementation, and evaluation. The strategies could prevent the students from smoking (no more new smokers and lower smoking rates among students). They had more knowledge, negative attitude towards smoking, high self-efficacy, more decision making, and refusal skills.

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลวิธีในการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนได้ตรงตาม สภาพการณ์และสาเหตุที่เป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในปัญหาการสูบบุหรี่ของนักเรียนให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อป้องกัน การสูบบุหรี่ของนักเรียนชายและหญิงที่กำลังศึกษาในชั้นป.5-6 และม.1-3 จำนวน 188 คน ในโรงเรียน หัวนาคำจรูญศิลป์ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เครื่องมือเชิงปริมาณที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่วัดความรู้ เจตคติ ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการปฏิเสธ ความคาดหวังในความสามารถของตนเองและพฤติกรรม การป้องกันการสูบบุหรี่ วิธีการเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เจาะลึกและการสังเกต กระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1)ระยะเตรียมการ 2)ระยะดำเนินการ และ 3) ระยะสิ้นสุด โครงการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีในการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนซึ่งให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในปัญหา การสูบบุหรี่ของนักเรียน ได้แก่ ตัวเด็กเอง ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา วางแผน โดยกำหนดเป็นกิจกรรม/โครงการ นำไป ปฏิบัติและประเมินผล สามารถป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนได้ตรงตามสภาพการณ์และสาเหตุที่เป็นจริง โดยไม่มีนักเรียนรายใหม่ที่สูบบุหรี่เพิ่มขึ้นและอัตราการสูบบุหรี่ของนักเรียนลดลง นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น มีเจตคติทางลบต่อการสูบบุหรี่ มีความคาดหวังในความ สามารถตนเองต่อการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น มีทักษะ ในการตัดสินใจและทักษะการปฏิเสธเพิ่มขึ้น

Downloads

How to Cite

(Wanchanok Chantachum) ว. จ. (2012). การพัฒนากลวิธีในการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการมี ส่วนร่วม : กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสในจังหวัดกาฬสินธุ์. The Periodical of Behavioral Science, 12(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2036