ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิลําไส้ของประชาชนในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร

Authors

  • บังอร ฉางทรัพย์ (Bang-On Changsab)
  • มนัส บุญประกอบ (Manat Boonprakob)
  • องอาจ นัยพัฒน์ (Ong-Art Naiyapatana)
  • ปราโมทย์ ทองกระจาย (Pramote Thongkrajai)

Abstract

The intestinal parasitic infection cause many problems in health system of Thailand. These diseases are still epidemic in several areas especially in the intensive population communities. The intestinal parasitic infection could affect our health in both of direct and indirect pathway. Thus, to maintain good health, regarding the intestinal parasitic infection, the most important ways to do are to promote preventive behaviors and prevent an epidemic infection. The objectives of this study were to 1) determine the preventive behaviors against intestinal parasitic infection, 2) analyze the relationships of preventive behaviors against intestinal parasitic infection and factors affecting and 3) develop the causal model and analyze factors including age, socioeconomic status, social support, internal-external health locus of control, knowledge of intestinal parasites and attitude toward preventive behaviors against intestinal parasitic infection.

 

บทคัดย่อ

โรคพยาธิลำไส้นับเป็นปัญหาของประเทศไทยที่ยังคงมีการระบาดอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม ประชาชนที่อาศัยอย่างหนาแน่น การติดเชื้อพยาธิลำไส้ทำให้มีผลต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น การมีพฤติกรรมป้องกันโรคพยาธิลำไส้ที่ดีจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพยาธิ ลำไส้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิลำไส้ ของประชาชนใน ชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการ ป้องกันโรคพยาธิลำไส้ และ 3) เพื่อพัฒนาแบบจำลองปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิลำไส้ ประกอบด้วย อายุ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม การสนับสนุนทางสังคม ความเชื่ออำนาจภายใน-นอกตน ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิลำไส้ และเจตคติในการป้องกันโรคพยาธิลำไส้

กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยในชุมชนเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบ เป็นลำดับขั้น จำนวน 400 คน ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้เครื่องมือวัดคือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นแอลฟาเท่ากับ 0.84 ทำการวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของประชาชนในชุมชนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันโรค พยาธิลำไส้โดยการใช้สถิติพรรณา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ด้วยการใช้ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน วิเคราะห์และปรับปรุงแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยการวิเคราะห์อิทธิพล

ผลการวิจัยพบว่าลักษณะสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของประชาชนในชุมชนคลองเตยอยู่ในระดับต่ำและ พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิลำไส้อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 77.68) โดยพฤติกรรมการป้องกันโรค พยาธิลำไส้มีความสัมพันธ์กับเกือบทุกปัจจัยที่ศึกษา (ยกเว้นอายุและความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิลำไส้) อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการตรวจสอบความกลมกลืนของแบบจำลองปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ป้องกันโรคพยาธิลำไส้ภายหลังการปรับแก้ มีค่าไคสแควร์เท่ากับ 5.52 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 4 ความน่าจะ เป็น (p-value) เท่ากับ 0.14 ค่าดัชนีบอกความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีบอกความกลมกลืนที่ปรับแก้ แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.94 ค่ารากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.06 และ ค่าขนาดตัวอย่างวิกฤติ (CN) เท่ากับ 475.53 จากแบบจำลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีเพียงสถานะทาง เศรษฐกิจและสังคม และการสนับสนุนทางสังคมเท่านั้นที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมการ ป้องกันโรคพยาธิลำไส้โดยพบว่าปัจจัยที่ศึกษาร่วมทำนายความแปรปรวนของพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิ ลำไส้ได้ร้อยละ 11

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนคลองเตย มี พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิลำไส้ที่ถูกต้องโดยการจัดโปรแกรมเพื่อป้องกันโรคพยาธิลำไส้ ส่วนงานวิจัยที่ จะดำเนินต่อไปควรศึกษาปัจจัยเพิ่มเติมที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิลำไส้ได้มากขึ้น

Downloads

How to Cite

(Bang-On Changsab) บ. ฉ., (Manat Boonprakob) ม. บ., (Ong-Art Naiyapatana) อ. น., & (Pramote Thongkrajai) ป. ท. (2012). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิลําไส้ของประชาชนในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร. The Periodical of Behavioral Science, 12(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2037