การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (Self-Directed Learning: A Case Study of Undergraduate Students at Srinakharinwirot University)
Abstract
The objectives of this research were (1) to compare the self-directed learning of undergraduate students from Srinakharinwirot University across school year, major area, and gender, (2) to develop a Thai Self-Directed Learning Scale (TSDLS), and (3) to test the validity and reliability of evidence from the TSDLS. Participants were 1,186 undergraduate students from Srinakharinwirot University who were randomly selected and 3 stages stratified. The research findings revealed that: 1) Observed interactions explain the differences in self-directed learning means among school year, major area, and gender. Interactions were statistically significant self-directed learning indicators. More specifically, the self-directed learning levels for first year female students in humanities and social sciences were lower than other groups while levels for second year male students in health science areas were higher than other groups. 2) First order and second order confirmatory factor analyses were used to test the factorial validity of TSDLS. The findings showed that the two proposed models were both reasonable fitted with the empirical data. Further, canonical correlation was used to test the convergent validity evidence and showed that our TSDLS was strongly correlated with the self-directed learning scale developed by Watanawong (2003). 3) Reciprocal effects between self-directed learning and lifelong learning were tested to reveal the incremental validity. The results showed that self-directed learning strongly predicted lifelong learning and, although to lesser degree, feedback also showed a strong effect.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง จำแนกตามชั้นปี กลุ่มสาขาและเพศ เพื่อสร้างเครื่องมือวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และเพื่อแสดงหลักฐานความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 – 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 1,186 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ 3 ขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปว่า 1) ชั้นปี สาขาวิชา และเพศ มีปฏิสัมพันธ์ในการอธิบายความแตกต่างของการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในทุกองค์ประกอบทั้งการจัดการตนเอง การตรวจสอบตนเอง และการเปลี่ยนแปลงตนเอง งานวิจัยนี้วิเคราะห์ผลโดยพิจารณา 3 มิติพร้อมกันพบว่า นิสิตหญิงชั้นปีที่ 1 สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์มีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองแตกต่างจากสาขาอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในนิสิตชายพบว่านิสิตชั้นปีที่ 2 กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ สุขภาพมีระดับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสูงกว่านิสิตกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง ผลการวิจัยพบว่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดล องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสองกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่าเท่ากัน และเมื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงลู่เข้าพบว่า ตัวแปรคาโนนิคอลซึ่งเป็นตัวแปรแฝงการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองที่พัฒนาขึ้นโดยคณะผู้วิจัยกับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของ สุวัฒน์ วัฒนวงศ์ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) การศึกษาความเที่ยงตรงเชิงทำนายซึ่งกำหนดให้เป็นความสัมพันธ์เชิงย้อนกลับ เมื่อทำการประเมินความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า โมเดลความสัมพันธ์แบบมีอิทธิพลย้อนกลับระหว่างการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองทำนายการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้สูง และการเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถทำนายการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองได้สูงเช่นเดียวกันแต่มีขนาดอิทธิพลต่ำกว่าเล็กน้อย
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Behavioral Science Research Institute, SWU
114 Sukhumvit 23, Bangkok 10110, Thailand.
Tel.02-649-5000 # 17600