สภาพแวดล้อมทางการเมืองและลักษณะทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของหัวหน้าครัวเรือนในองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดเชียงใหม่
Abstract
The purposes of this research were to compare political participation behavior of household heads in Tambon Administrative Organization with bio-social factors, to study interaction between political environments and psychological traits affecting political participation behavior of household heads in Tambon Administrative Organization, and to explain political participation behavior of household heads in Tambon Administrative Organization from two independent variables, i.e; political environments and psychological traits. The sample in this research consisted of 400 household heads, who were located in 8 villages of 4 Tambon Administrative Organizations in 4 districts,Chiangmai province. There were three group of independent variables; namely; three variables of political environment factor in the first group, i.e; political news, political relationship with peers, and participation with the local group; two variables of psychological trait factor, i.e; attitude toward political participation in Tambon Administrative Organization, and political efficacy; two variables of bio-social factor, i.e; education and income. The instruments was a 7 part questionnaire. Statistical methods that used to analyze data were t-test, Two-way Analysis of Variance, MANOVA Script, and Stepwise Multiple Regression Analysis. The research result was found that :
1. The predictive variable of political participation behavior of household heads in Tambon Administrative Organization; political news, participation with the local group and political relationship with peers could jointly predict political participation behavior in Tambon Administrative Organization at 31.4%.
2. The household heads with different education and income had no different political participation behavior at the .05 level of statistical significance.
3. There were no interactions between political efficacy and participation with the local group affecting political participation behavior of household heads in Tambon Administrative Organization.
4.There was interaction between political news and attitude toward political participation in Tambon Administrative Organization affecting political participation behavior of household heads in Tambon Administrative Organization.
Keywords: Political participation behavior, Household heads, Political environments, Psychological traits, Biosocial factors
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของหัวหน้าครัวเรือนในองค์การบริหารส่วนตำบลกับลักษณะทางชีวสังคม เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางการเมือง และลักษณะทางจิต ว่ามีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของหัวหน้าครัวเรือนในองค์การบริหารส่วนตำบล และเพื่ออธิบายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของหัวหน้าครัวเรือนในองค์การบริหารส่วนตำบล จากสภาพแวดล้อมทางการเมืองและลักษณะทางจิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นหัวหน้าครัวเรือนจำนวน 400 คน ที่อาศัยอยู่ใน 8 หมู่บ้าน จาก 4 องค์การบริหารส่วนตำบลใน 4 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ตัวแปรอิสระที่ศึกษา มี 3 กลุ่ม ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทางการเมือง 3 ตัวแปร ได้แก่ การรับข่าวสารทางการเมือง สัมพันธภาพทางการเมืองกับเพื่อน และการเข้าร่วมกับกลุ่มในท้องถิ่น ลักษณะทางจิต 2 ตัวแปร ได้แก่ เจตคติต่อการมี ส่วนร่วมทางการเมืองในองค์การบริหารส่วนตำบล และความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมือง และลักษณะ ทางชีวสังคม 2 ตัวแปร ได้แก่ ระดับการศึกษา และรายได้ เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 1 ชุด จำนวน 7 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติการทดสอบค่าที (t-test) สถิติการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-way Analysis of Variance) เปรียบเทียบรายคู่โดยการเขียนคำสั่ง มาโนวา (MANOVA Script) และสถิติการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. ตัวแปรในการทำนายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของหัวหน้าครัวเรือนในองค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ การรับข่าวสารทางการเมือง การเข้าร่วมกับกลุ่มในท้องถิ่น และสัมพันธภาพทางการเมืองกับเพื่อน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในองค์การบริหาร ส่วนตำบลได้คิดเป็นร้อยละ 31.42. หัวหน้าครัวเรือนที่มีระดับการศึกษาและรายได้แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทาง การเมืองในองค์การบริหารส่วนตำบล แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีu3626 .มรรถนะทางการเมือง และการเข้าร่วมกลุ่มในท้องถิ่นที่มีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทาง การเมืองของหัวหน้าครัวเรือนในองค์การบริหารส่วนตำบล
4. พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรับข่าวสารทางการเมือง และเจตคติต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของหัวหน้าครัวเรือนในองค์การบริหารส่วนตำบล
คำสำคัญ: พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมือง, หัวหน้าครัวเรือน, สภาพแวดล้อมทางการเมือง, ลักษณะทางจิต, ลักษณะทางชีวสังคม
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Behavioral Science Research Institute, SWU
114 Sukhumvit 23, Bangkok 10110, Thailand.
Tel.02-649-5000 # 17600