การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ (The Development of Learning Provision Model in Social Psychology by Using Community and Experience as Bases to Promote Characteristics of Satisfying ..)

Authors

  • พัชรี ศรีสังข์ (Patcharee Srisung)

Abstract

The purpose of this research were to develop and study the effectiveness of a learning provision model in social psychology by using community and experience as bases to promote characteristics of satisfying graduates. This research was based on the 3-round Cogenerative Action Research. Samples of this research were divided into two groups. The first group was 45 undergraduate students. The second group was community and club members consisting of three sub-groups: (1) 10 residents from Yadong Community involved in the learning activities at the individual level (1st round), (2) other 10 residents from Yadong Community participated in the learning activities at the individual level more than two persons (2nd round), and (3) 17 members from the First Dance Club involved in the learning activities at the individual level (3rd round). Various kinds of research tools, were used for developing the learning provisioin model and for studying the effectiveness of the learning provision model. The research has 3 findings. Firstly, the development of the learning provision model has eight elements of structural concept for the systematically learning model, including 1) problems and needs for learning provision, 2) principles of the learning provision model, 3) objectives of the learning provision model, 4) expected learning results, 5) learning knowledge, 6) learning activities, 7) model measurements and evaluations, and 8) learning sources. Secondly, for the intellectual characteristic of satisfying graduates, after employing the learning provision model, the means score of the students is in the good level. For the emotional characteristic of satisfying graduates, the means score of the students is in the high level. After engaged in the model, all means scores of every skill of the students are ranked in the higher level except the observation skill is ranked in the highest level. Finally, the Yadong Community members, who participated in the 1st and 2nd round of the learning activities, have the learning abilities in the areas of intellect, emotion, feeling, and all skills except the group working skill in the 1st round. For the 2nd round, most Yadong Community members have only the group-working skill. For the members of the First Dance Club; who participated in the 3rd round of the learning activities, have learning abilities in all areas.

Keywords : Learning Provision, Characteristics of Satisfying Graduates.

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ เป็นการวิจัยปฏิบัติการสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกัน จำนวน 3 รอบ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ นิสิตจำนวน 45 คน และสมาชิกชุมชน ประกอบด้วย (1) สมาชิกชุมชนยาดอง จำนวน 10 คน ที่มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับบุคคล (รอบที่ 1) (2) สมาชิกชุมชนยาดอง จำนวน 10 คน ที่มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (รอบที่ 2) และ (3) สมาชิกชมรมออกกำลังกาย กีฬาลีลาศ เฟิส์ทด้านซ์ จำนวน 17 คน ที่มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับกลุ่มคน (รอบที่ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ช่วยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ (2) เครื่องมือที่ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า (1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้กรอบแนวคิดเชิงโครงสร้างชี้แนะแนวทางลักษณะการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างเป็นระบบ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ 2) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 5) สาระการเรียนรู้ 6) กิจกรรมการเรียนรู้ 7) การวัดผลประเมินผลรูปแบบ และ 8) แหล่งเรียนรู้ (2) คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับนิสิตภายหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านสติปัญญามีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ด้านอารมณ์ ความรู้สึก มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และด้านทักษะทุกทักษะมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

ยกเว้นทักษะการสังเกตอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านสติปัญญามีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปรับปรุง ด้านอารมณ์ ความรู้สึกอยู่ในระดับปานกลางและด้านทักษะทุกทักษะอยู่ในระดับเล็u3585 .น้อยยกเว้นทักษะการสังเกตอยู่ในระดับพอใช้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ (3) สมาชิกชุมชนยาดองที่มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้รอบที่ 1 และรอบที่ 2 สมาชิกชมรมออกกำลังกาย กีฬาลีลาศ เฟิส์ทด้านซ์ ที่มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้รอบที่ 3 ทุกคนเกิดการเรียนรู้ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ ความรู้สึก และด้านทักษะทุกทักษะได้ด้วย ยกเว้นทักษะการทำงานกลุ่มที่สมาชิกชุมชนยาดองทุกคนในรอบที่ 1 ไม่เกิดการเรียนรู้ ส่วนรอบที่ 2 สมาชิกชุมชนยาดองส่วนใหญ่เกิดการเรียนรู้

คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้, คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

Downloads

How to Cite

(Patcharee Srisung) พ. ศ. (2012). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ (The Development of Learning Provision Model in Social Psychology by Using Community and Experience as Bases to Promote Characteristics of Satisfying .). The Periodical of Behavioral Science, 14(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2054