การศึกษากำลังขวัญในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) (A Study of Employee Morale at King Mongkut’sUniversity of Technology Thonburi (KMUTT))

Authors

  • จุรีพร กาญจนการุณ (Jureeporn Kanjanakaroon)

Abstract

The aim of this research is to study the personnel morale , and to propose recommendations for enhancing personnel morale. A Purposive sample of 59 working at School of Liberal Arts, KMUTT was used. The instruments used to collect the data were a questionnaire and in-depth interviews with 8 key informants, who are senior personnel at the School. The data analysis involved content, inductive and statistically analysis. The results of the research were as follows: 1) The survey showed that the level of personnel morale was nearly high and the level of their perception of the skill variety and task identity of their jobs were high. 2) Personnel of different status such as gender, age, salary etc., did not have any differences in level of morale. 3) The predictor of morale was the person’s perception of autonomy with p <.001. 4) The qualitative research showed that external motivation was highly used. The many ways used to maintain morale included working supporting units, welfare and seminars etc. Recommendations for enhancing morale are encouraging internal and external motivation, promoting career and academic growth, strengthening organizational commitment, empowering organizational communication, creating justice among executive and a sense of job security.

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากำลังขวัญในการปฏิบัติงาน และนำเสนอแนวทางการส่งเสริมเพิ่มหรือบำรุงรักษาไว้ ซึ่งกำลังขวัญในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างเจาะจงเฉพาะบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการของคณะศิลปศาสตร์ มจธ. จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคลากรระดับอาวุโส และแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์เชิงสรุปแบบอุปนัย และวิเคราะห์สถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีกำลังขวัญในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีการรับรู้เกี่ยวกับด้านความหลากหลายทักษะและด้านความสำคัญของงานอยู่ในระดับสูง 2) บุคลากรที่มีลักษณะส่วนบุคคล เช่น เพศ อายุ เงินเดือน แตกต่างกัน มีระดับกำลังขวัญในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยในการทำนายกำลังขวัญในการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 คือ การรับรู้เกี่ยวกับความมีอิสระในการตัดสินใจในงาน 4) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าสภาพการทำงานปัจจุบันนั้นมีการใช้แรงจูงใจภายนอกในการปฏิบัติงานอย่างมาก และมีมาตรการเพื่อรักษากำลังขวัญการปฏิบัติงาน เช่น มีหน่วยงานสนับสนุนการทำงาน มีสวัสดิการ มีการสัมมนา เป็นต้น แนวทางการส่งเสริมบำรุงรักษากำลังขวัญการปฏิบัติงานมีหลายประการ ได้แก่ การสร้างเสริมแรงจูงใจภายในและภายนอก ความก้าวหน้าทางวิชาชีพและวิชาการ การเสริมสร้างความผูกพันในองค์การ ความเข้มแข็งของการสื่อสารในองค์การ บทบาทผู้บริหารที่มีความยุติธรรม และความรู้สึกมั่นคงในการทำงาน

คำสำคัญ : กำลังขวัญในการปฏิบัติงาน

Downloads

How to Cite

(Jureeporn Kanjanakaroon) จ. ก. (2012). การศึกษากำลังขวัญในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) (A Study of Employee Morale at King Mongkut’sUniversity of Technology Thonburi (KMUTT)). The Periodical of Behavioral Science, 14(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2056