คุณลักษณะความทันสมัยและการสนับสนุนทางสังคมที่สัมพันธ์กับความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา (The Modernity and Social Support Relating to the Ability of Teachers in Secondary Educational Reform)
Abstract
This research has purposes: to find out the important factors effecting to the ability of teachers in secondary education reform ; to study the Interaction between internal factor and external factor related to ability of teachers in secondary education reform; and to compare the ability of teachers in secondary education reform in different bio – social characteristics.
The Sample in this research consisted of 368 teacher in secondary education to be under Bangkok’s Education Area Service Region 1 , academic year 2006. There were two groups of independent variables, that were : 1 the internal factors consisting of 7 modernity characteristics ; Readiness for New Experience ,Openness to Innovation and Change, Valuing of Time, Sense of Efficacy, Planning, Calcability, and Education and Occupation and Aspiration. Three external factors were the Social Support from Community , the Social Support from Administrators, as well as the Social Support from a Colleague. The instrument was a set of constructed questionnaire separated into 4 parts. The statistics used for analyzing the acquired data were Multiple Regression Analysis, Two – way Analysis of variance (ANOVA) and t – test.
The results revealed that :
1. The internal factors which consisted of Education and Occupation and Aspiration, Readiness for New Experience, Openness to Innovation and Change and the external factors which consisted of the Social Support of Community can correlatively predict the ability of teachers in Secondary Education Reform performing 55.5%.
2. The ability of teachers in Education Reform depended on the interactions between the modernity and social support as the following.
2.1 The interactions between the modernity in the aspect of the Readiness for New Experience, and the Social Support from the Administrators had effected to the ability of the teachers in Education Reform at the .05 level of statistical significance. Those are ;
The teachers who get high social supported from the administrators have higher ability of the teachers in Education Reform than the teachers who get low social supported from the administrators, which this result was found in both groups of the teachers who have high readiness for new experience and the teachers who have low readiness for new experience at the .05 level of statistical significance.
The teachers who have high readiness for new experience have higher ability of the teachers in education reform than the teachers who have low readiness for new experience, which this result was found in both groups of teachers who get high social supported from the administrators and the teachers who get low social supported from the administrators at the .05 level of statistical significance.
2.2 The interactions between the modernity in the aspects of the, Education and Occupation and Aspiration and the Social Support from the Administrators had effected to the ability of the teachers in education reform at the .05 level of statistical significance.Those are ;
The teachers who get high social supported from the administrators have higher ability of the teachers in education reform than the teachers who get low social supported from the administrators, which this result was found in both groups of the teachers who have high education and occupation and aspiration and the teachers who have low education and occupation and aspiration at the .05 level of statistical significance.
The teachers who have high education and occupation and aspiration have higher ability of the teachers in education reform than the teachers who have low education and occupation and aspiration, which this result was found in both groups of teachers who get high social supported from the administrators and the teachers who get low social support from the administrators at the .05 level of statistical significance.
3. Teachers who have different working experiences have different abilities of the teachers in the Secondary Education Reform at the .05 level of statistical significance.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่สำคัญในการทำนายความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษาระหว่างครูที่มีลักษณะทางชีวสังคมต่างกัน กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยนี้ เป็นครูที่สอนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2549 ที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 368 คน ตัวแปรอิสระที่ศึกษามี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือปัจจัยภายใน ได้แก่ คุณลักษณะความทันสมัย ซึ่งมี 7 ด้าน ประกอบด้วย การยอมรับประสบการณ์ใหม่ๆ การยอมรับในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพปัจจุบันและอนาคต ความเชื่อในความสามารถของมนุษย์ การวางแผนในการทำงาน การมองโลกในแง่ดี ความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาการสมัยใหม่ กลุ่มที่สองคือปัจจัยภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย การสนับสนุนทางสังคมจากชุมชน การสนับสนุนทางสังคมจากผู้บริหาร การสนับสนุนทางสังคมจากผู้ร่วมงาน สำหรับตัวแปรตามคือความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษา แบ่งเป็นด้านวิชาการ ด้านการสอน ด้านการสร้างและส่งเสริมความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 1 ฉบับ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้น สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ คุณลักษณะความทันสมัยประกอบด้วยความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาการสมัยใหม่ การยอมรับประสบการณ์ใหม่ๆ ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพปัจจุบันและอนาคต และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมจากชุมชน สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 55.5 โดยตัวแปรที่เข้าทำนายเป็นอันดับแรกคือ ความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาการสมัยใหม่
2. ความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษาแปรปรวนไปตามปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะความทันสมัยและการสนับสนุนทางสังคม ดังนี้
2.1 พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะความทันสมัยด้านการยอมรับประสบการณ์ใหม่ๆ และการสนับสนุนทางสังคมจากผู้บริหารต่อความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ครูที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากผู้บริหารสูง มีความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษามากกว่าครูที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากผู้บริหารต่ำ ทั้งในกลุ่มครูที่มีคุณลักษณะความทันสมัยด้านการยอมรับประสบการณ์ใหม่ๆ สูงและต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่มีคุณลักษณะความทันสมัยด้านการยอมรับประสบการณ์ใหม่ๆ สูง มีความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษามากกว่าครูที่มีคุณลักษณะความทันสมัยด้านการยอมรับประสบการณ์ใหม่ๆต่ำ ทั้งกลุ่มครูที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากผู้บริหารสูงและต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะความทันสมัยด้านความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาการสมัยใหม่ และการสนับสนุนทางสังคมจากผู้บริหารต่อความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่าครูที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากผู้บริหารสูง มีความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษามากกว่าครูที่ได้ รับการสนับสนุนทางสังคมจากผู้บริหารต่ำ ทั้งในกลุ่มครูที่มีคุณลักษณะความทันสมัยด้านความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาการสมัยใหม่สูงและต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่มีคุณลักษณะความทันสมัยด้านความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาการสมัยใหม่สูง มีความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษาu3617 .ากกว่าครูที่มีคุณลักษณะความทันสมัยด้านความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาการสมัยใหม่ต่ำ ทั้งกลุ่มครูที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากผู้บริหารสูงและต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานเป็นครูต่างกัน มีความสามารถในการเป็นครูยุคปฏิรูปการศึกษาด้านการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : ครูยุคปฏิรูปการศึกษา, ความสามารถของครู, คุณลักษณะความทันสมัย, การสนับสนุนทางสังคมDownloads
How to Cite
Issue
Section
License
Behavioral Science Research Institute, SWU
114 Sukhumvit 23, Bangkok 10110, Thailand.
Tel.02-649-5000 # 17600