การพัฒนาลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎ (The Development of Kalyanamitt for Students of The Teaching Profession in a Rajabhat University)

Authors

  • ยุภาดี ปณะราช (Yupadee Panarach)

Abstract

The purposes of this study were: 1) to examine results of Kalyanamitt Training Program, and 2) to investigate an interaction between Kalyanamitt Training and Parents’ Buddhist Modeling that affect the Kalyanamitt characteristics of the students in teaching profession.

The participants consisted of 48 third year students of the teaching profession at Rajabhat Kamphaengphet University. Systematic random sampling was employed to equally separate the samples into experimental and control groups. Both groups were divided into two groups by the high and low scores on Parents’ Buddhist Modeling. The instruments were composed of 1) Kalyanamitt Training Program involving 3 steps: building an inspiration in Teacher Professional, practicing characteristics of Kalyanamitt, and the integration of all the characteristics of Kalyanamitt. 2) Kalyanamitt Questionnaires, and 3) Parents’ Buddhist Modeling. The participant’ Kalyanamitt were evaluated before and one week after training, and one month after training. The training was used 28 hours. The data were analyzed by using Two-way ANCOVA repeated measurement design.

The results of the study were as follows:

1. There were no interactions among training method, Parents’ Buddhist Modeling, and time of measures.

2. There were no interaction between training method and Parents’ Buddhist Modeling.

3. There was an interaction between training method and time of measures at .05 by:

3.1 Kalyanamitt scores for one week after training of the experimental group were not different from the scores after one-month training.

3.2 Kalyanamitt score for one week after training of the control group were lower significance at .05 than the score after one-month training.

3.3 The experimental group had higher significance at .05 on Kalyanamitt score than the control group in one week after training and after one-month training.

Keywords : Kalyanamitt; Empathy, Transactional Analysis, Yonisomanasikarn, Counseling

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรของนักศึกษาวิชาชีพครู และ 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรกับการเป็นแบบอย่างการปฏิบัติทางพุทธของบิดามารดา ที่ส่งผลต่อลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรของนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 48 คน สุ่มแบบมีระบบ เพื่อจัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 24 คน ในแต่ละกลุ่มมีนักศึกษาที่มีแบบอย่างการปฏิบัติทางพุทธของบิดามารดามากและน้อย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นกัลยาณมิตร แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นสร้างศรัทธา ขึ้นฝึกลักษณะความเป็นกัลยาณมิตร และขั้นบูรณาการ 2) แบบวัดลักษณะความเป็นกัลยาณมิตร และ 3) แบบวัดการเป็นแบบอย่างการปฏิบัติทางพุทธของบิดามารดา ดำเนินการฝึกอบรมใช้เวลา 28 ชั่วโมง มีการวัด 3 ครั้ง คือ วัดก่อนการฝึกอบรม วัดหลังการฝึกอบรม 1 สัปดาห์ และวัดหลังการฝึกอบรม 1 เดือน การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-way ANCOVA Repeated Measure) โดยมีลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรก่อนฝึกอบรมวัดก่อนการฝึกอบรมเป็นตัวแปรร่วม

ผลการวิจัยพบว่า

1. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการฝึกอบรม การมีแบบอย่างการปฏิบัติทางพุทธของบิดามารดาและครั้งของการวัด

2. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการฝึกอบรม กับการมีแบบอย่างการปฏิบัติทางพุทธของบิดามารดา

3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการฝึกอบรม กับครั้งของการวัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่

3.1. กลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นกัลยาณมิตร หลังการฝึกอบรม 1 เดือน มีลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรไม่แตกต่างจากการวัดหลังการฝึกอบรม 1 สัปดาห์

3.2. กลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นกัลยาณมิตร หลังการฝึกอบรม 1 เดือน มีลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรลดลงจากการวัดหลังการฝึกอบรม 1 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.3. หลังการฝึกอบรม 1 สัปดาห์ และหลังการฝึกอบรม 1 เดือน กลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นกัลยาณมิตร มีลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นกัลยาณมิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : กัลยาณมิตร การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร โยนิโสมนสิการ การให้คำปรึกษา

Downloads

How to Cite

(Yupadee Panarach) ย. ป. (2012). การพัฒนาลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎ (The Development of Kalyanamitt for Students of The Teaching Profession in a Rajabhat University). The Periodical of Behavioral Science, 14(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2058