ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของเอกลักษณ์นักศึกษาครูและการรับรู้ความสามารถของตนในการเป็นครูนักวิจัยที่มีต่อพฤติกรรมครูนักวิจัยของนักศึกษาครูในยุคปฏิรูปการศึกษา (Casual Factors of Researcher Identity and Self-efficacy on Behavior of Student Teachers during Educational Reform)

Authors

  • วรรณะ บรรจง (Wanna Banchong)

Abstract

The purpose of this study was to develop linear structural relations among identity, self-efficacy, and role performance of student teacher as researchers. The sample group consisted of 945 students from five different southern government universities chosen through a stratified random sampling. The research was conducted by administering 13 instruments with reliabilities ranged from 0.66 to 0.93. In addition, to statistically describe the sample characteristics and variable distribution, data was processed through SPSS for Windows Version 11.5. Hypothesis of casual factors and identity determining role performance of student teachers was tested by LISREL 8.72 program.

The empirical findings was that teacher-researcher’s behavior model developed from the Stryker’s identity theory, teacher professional socialization, and self-efficacy showed causal correlation ship (χ2 = 99.86, df = 41, p-value = .00, RMSEA =.039, SRMR = 0.021, GFI = .98, AGFI = .96, CN =584.79).

It was also found that exogenous variables i.e. socialization at home, school, and teacher institutes had significant effects on endogenous variables i.e. role commitment, professional identity, self-efficacy for being teacher researchers. Variables affected positively were detailed as follows. 1) Teacher researchers were affected by the variables of professional identity, role commitment, self-efficacy for being teacher researchers, as well as socialization at home, school, and teachers’ institutes. These variables collectively predicted teacher researchers’ behavior at 66 percent. 2) Professional identity was affected by self-efficacy for being teacher researchers, role commitment, socialization at institution, and family. These variables collectively predicted professional identity at 65 percent. 3) Only socialization at family had a direct affect on role commitment at the predictability of 51 percent. 4) Self-efficacy for being teacher researchers was merely affected by socialization at home and teachers’ institutes at the predictability of 6 percent.

Moreover, the casual factor analysis of consistent model affecting professional identity and selfefficacy for being teacher researchers, and teacher researcher’s behavior of student teachers from different years showed the same form. Similarly, the parameter matrix of casual factors indicating some endogenous and exogenous showed no difference.

 

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองโครงสร้างเชิงเส้นความสัมพันธ์ของเอกลักษณ์ และพฤติกรรมครูนักวิจัยของนักศึกษาครู ที่กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยภาคใต้ 5 แห่ง จำนวน 945 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวัด 13 ฉบับ มีความเชื่อมั่นตั้งแต่ .66-.93 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 11.5 เพื่ออธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่างและการแจกแจงของตัวแปร ส่วนในการตรวจสอบแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและ ผลของเอกลักษณ์ที่มีต่อพฤติกรรมครูนักวิจัยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองพฤติกรรมครูนักวิจัยของนักศึกษาครูที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนามาจากทฤษฎีเอกลักษณ์ของบุคคลของสไตรเกอร์ (Stryker’s identity theory) สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ดังนี้ χ2= 99.86, df = 41, p-value =.00; RMSEA = .039; SRMR= 0.021; GFI = .98; AGFI = .96; CN = 584.79 โดย ตัวแปรสาเหตุมีอิทธิพลทางบวกต่อตัวแปรผล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1) พฤติกรรมครูนักวิจัยได้รับอิทธิพลจากตัวแปรเอกลักษณ์นักศึกษาครู ความยึดมั่นผูกพันในบทบาท การรับรู้ความสามารถของตนในการเป็นครูนักวิจัย การถ่ายทอดทางสังคมจากสถาบันฝึกหัดครู โรงเรียนและครอบครัว ตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันทำนายพฤติกรรมครูนักวิจัยได้ร้อยละ 66 2) เอกลักษณ์นักศึกษาครูได้รับอิทธิพลจากการรับรู้ความสามารถของตนในการเป็นครูนักวิจัย ความ ยึดมั่นผูกพันในบทบาท การถ่ายทอดทางสังคมจากสถาบันฝึกหัดครู และการถ่ายทอดทางสังคมจากครอบครัว ตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันทำนายเอกลักษณ์นักศึกษาครูได้ร้อยละ 65 3) ความยึดมั่นผูกพันในบทบาทได้รับอิทธิพลทางตรงจากการถ่ายทอดทางสังคมจากครอบครัวเพียงตัวแปรเดียว โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 51 และ (4) การรับรู้ความสามารถของตนในการเป็นครูนักวิจัยนั้นได้รับอิทธิพลจากตัวแปรการถ่ายทอดทางสังคมจากสถาบันฝึกหัดครูเพียงตัวเดียว และทำนายได้น้อยเพียงร้อยละ 6 สำหรับผลการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสาเหตุของพฤติกรรมครูนักวิจัยของนักศึกษาครูที่เรียนชั้นปีต่างกัน มีลักษณะโครงสร้างเป็นแบบเดียวกัน และมีค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์อิทธิพลu3648 .ชิงสาเหตุของตัวแปรแฝงภายในและภายนอกบางตัวไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ : เอกลักษณ์นักศึกษาครู การรับรู้ความสามารถของตนในการเป็นครูนักวิจัย พฤติกรรมครูนักวิจัย

Downloads

How to Cite

(Wanna Banchong) ว. บ. (2012). ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของเอกลักษณ์นักศึกษาครูและการรับรู้ความสามารถของตนในการเป็นครูนักวิจัยที่มีต่อพฤติกรรมครูนักวิจัยของนักศึกษาครูในยุคปฏิรูปการศึกษา (Casual Factors of Researcher Identity and Self-efficacy on Behavior of Student Teachers during Educational Reform). The Periodical of Behavioral Science, 14(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2059