การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย (Research Synthesis Concerning the Stress and Coping of Thai People)
Abstract
The main objectives of this research were to summarize the progress and development of research studies related to stress and coping of Thai people and search for variables affecting stress and coping by synthesizing from researches. The sample consisted of 490 research studies of 15 higher education institutions which concerning the stress and coping during 1982–2007. Qualitative data was synthesized by content analysis presented in percentages. Quantitative data was synthesized by estimating effect size through Meta analysis technique of Glass and others. Research synthesis results showed that the majority of research objectives were correlation and predictor findings at 80%. The reliability range of stress questionnaire was 0.7000-0.9800 and 0.6033-0.9500 of coping questionnaire. The appropriate stress and coping level of most samples were at moderate, 55.41% and 49.5% respectively. The majority of studied samples were government officials : nurses, teachers, and policemen . Furthermore, factors which effected on stress and coping consisted of four groups ; 1) Bio-social and personal factors had influenced on stress by average effect size 0.1609-0.0559 which the highest predictor was the physical disability. 2)Psychological factors had influence on stress by average effect size 0.2637-1.6450 which the highest predictor was the anxiety. 3) Social factors had influence on stress by average effect size 0.2118-0.9725 which the highest predictor was the education reforming. 4) Intervention program which the highest effect stress was self - control practice. Finally, it was found that factors which affected coping were as follows : 1) Bio-social and personal factors had influenced on coping by average effect size 0.1214-0.3551 which the highest predictor was the resident environment, 2)Psychological factors had influenced on coping by average effect size 0.1201-1.0208 which the highest predictor was the expectation, 3) Social factors had influenced on coping by average effect size 0.1635-0.7144 which the highest predictor was the workplace support, and 4) Intervention program which the highest effect coping was the information program of cartoon picture.
บทคัดย่อ
การสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสรุปความก้าวหน้าและพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียดและการเผชิญความเครียด และค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและการเผชิญความเครียดโดยสังเคราะห์ จากรายงานวิจัย ปริญญานิพนธ์และสารนิพนธ์จากสถาบันอุดมศึกษา 15 แห่ง ช่วงพ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ.2550 490 เรื่อง ทำการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์เมต้า ตามกลาสและคณะ ผลการสังเคราะห์ สรุปได้ว่า งานวิจัยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์และการทำนายคิดเป็นร้อยละ 80.00 คุณภาพของแบบวัดความเครียดมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในช่วง 0.7000 ถึง 0.9800 แบบวัดการเผชิญความเครียดอยู่ในช่วง 0.6033 – 0.9500 ระดับความเครียดของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 55.41 การเผชิญความเครียดที่เหมาะสมอยู่ระดับปานกลางร้อยละ 49.5 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ ในกลุ่มพยาบาล ครู อาจารย์ และตำรวจ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดและการเผชิญความเครียด จำแนกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ปัจจัยทางชีวสังคมและส่วนบุคคลที่มีต่อความเครียด มีค่าอิทธิพลเฉลี่ย 0.1609 ถึง 1.0559 โดยที่ความบกพร่องและความพิการทางกายมีค่าอิทธิพลสูงสุด 2) ปัจจัยทางจิตลักษณะที่มีผลต่อความเครียด มีค่าอิทธิพลเฉลี่ย 0.2637 ถึง 1.6450 โดยความกังวลใจมีค่าอิทธิพลสูงสุด 3) ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อความเครียด มีค่าอิทธิพลเฉลี่ย 0.2118 ถึง 0.9725 โดย การปฏิรูปการศึกษา มีค่าอิทธิพลสูงสุด และ4.)โปรแกรมจัดกระทำที่มีค่าอิทธิพลสูงสุดต่อความเครียดคือ การฝึกการควบคุมตน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเผชิญความเครียด พบว่า 1)ปัจจัยทางชีวสังคมและส่วนบุคคลที่มีต่อการเผชิญความเครียดมีค่าอิทธิพลเฉลี่ย 0.1214 ถึง 0.3551โดยที่ ถานที่ตั้งของที่พักอาศัยมีค่าอิทธิพลสูงสุด 2) ปัจจัยทางจิตลักษณะที่มีผลต่อการเผชิญความเครียดมีค่าอิทธิพลเฉลี่ย 0.1201 ถึง 1.0208 โดย ความคาดหวังมีค่าอิทธิพลสูงสุด 3) ปัจจัยทางสังคมที่มีต่อการเผชิญความเครียดมีค่าอิทธิพลเฉลี่ย 0.1635 ถึง 0.7144 โดยการสนับสนุนจากที่ทำงานมีค่าอิทธิพลสูงสุดและ4.)โปรแกรมจัดกระทำที่มีค่าอิทธิพลสูงสุดต่อการเผชิญความเครียดคือ โปรแกรมการให้ข้อมูลภาพการ์ตูน
คำสำคัญ : การสังเคราะห์งานวิจัย ความเครียด การเผชิญความเครียดDownloads
How to Cite
Issue
Section
License
Behavioral Science Research Institute, SWU
114 Sukhumvit 23, Bangkok 10110, Thailand.
Tel.02-649-5000 # 17600