ปัจจัยเชิงเหตุและผลของภูมิคุ้มกันทางจิตของเยาวชน (Antecedents and Consequences of Youths’ Psychological Immunity)
Abstract
The purpose of this study was to propose and test a causal relationship model of youths’ psychological immunity. The model posits that psychological characteristics, family factors, and friend factors influence immunity, which in turn predict youths’ quality. The sample consisted of 800 undergraduate students in public universities in Bangkok. Self- report inventories with 5 rating scales ranging from true to untrue were administered to collect data. The hierarchical set multiple regression analysis was conducted to determine the relative strength of different sets of independent variables. The structural equation model was also employed to examine the causal relationship model of psychological immunity. Results using structural equation modeling suggested that the model fit the data. That was, psychological characteristics (self-control, optimism, and locus of control) and family factors (parental relationships, social support from family, and socialization based on self-sufficency economy philosophy) positively affected psychological immunity, whereas friend factors (friend relationships, social support from friend, and friend modeling in self-sufficiency economy philosophy had influence on attitude towards self-sufficiency economy and self-sufficiency economy behavior. In addition, psychological immunity had impact on youths’ quality in terms of well-being, problem-solving ability, prosocial behavior, and self-sufficiency economic behavior. Specifically, psychological immunity played a mediating role of relationships between psychosocial factors (psychological characteristics and family factors) and youths’ quality. The findings also indicated that the psychological characteristics contributed to psychological immunity the most and family factor was second in terms of strength of its contribution. In conclusions, psychological immunity served as a protective factor for various threats on individual and also facilitate youths’ quality.
Keywords: psychological immunity, well-being, socialization, youths, self-sufficiency economy
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของภูมิคุ้มกันทางจิตของเยาวชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 800 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดตัวแปรเชิงเชิงสาเหตุและผลของภูมิคุ้มกันทางจิต ประกอบด้วยมาตราประเมินค่า 5 ระดับ จาก จริง ค่อนข้างจริง ไม่แน่ใจ ค่อนข้างไม่จริง และไม่จริง โดยแบบวัดมีคุณภาพความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ วิเคราะห์โมเดลเชิงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลด้วยโปรแกรม AMOS ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของภูมิคุ้มกันทางจิตของนิสิตประกอบด้วยจิตลักษณะ (การควบคุมตน การมองโลกในแง่ดี และความเชื่ออำนาจในตน) และปัจจัยครอบครัว (ความสัมพันธ์กับบิดามารดา การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และการถ่ายทอดการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบิดามารดา) ส่งผลทางบวกต่อภูมิคุ้มกันทางจิต และภูมิคุ้มกันทางจิตส่งผลโดยตรงทางบวกต่อคุณภาพของเยาวชนและการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่ปัจจัยเพื่อน (ความสัมพันธ์กับเพื่อน การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน และการเห็นแบบอย่างจากเพื่อนในการใช้ชีวิตด้วยความพอเพียง) มีอิทธิพลทางบวกต่อเจตคติต่อการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบดังกล่าวนี้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยภูมิคุ้มกันทางจิตมีบทบาทเป็นตัวแปรคั่นกลางความสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะและปัจจัยครอบครัวกับคุณภาพของเยาวชน ผลการวิจัยยังพบว่า จิตลักษณะมีอิทธิพลสูงสุดต่อภูมิคุ้มกันทางจิต รองลงมาคือ ปัจจัยครอบครัว ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ได้เสนอแนะว่าภูมิคุ้มกันทางจิตทำหน้าที่เป็นทั้งปัจจัยที่ปกป้องภัยคุกคามต่างๆ ที่มีต่อบุคคล แล้วยังทำหน้าที่ เป็นปัจจัยส่งเสริมหรือสนับสนุนให้บุคคลมีชีวิตที่มีคุณภาพ
คำสำคัญ: ภูมิคุ้มกันทางจิต คุณภาพชีวิต การถ่ายทอดทางสังคม เยาวชน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของภูมิคุ้มกันทางจิตของเยาวชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 800 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดตัวแปรเชิงเชิงสาเหตุและผลของภูมิคุ้มกันทางจิต ประกอบด้วยมาตราประเมินค่า 5 ระดับ จาก จริง ค่อนข้างจริง ไม่แน่ใจ ค่อนข้างไม่จริง และไม่จริง โดยแบบวัดมีคุณภาพความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ วิเคราะห์โมเดลเชิงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลด้วยโปรแกรม AMOS ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของภูมิคุ้มกันทางจิตของนิสิตประกอบด้วยจิตลักษณะ (การควบคุมตน การมองโลกในแง่ดี และความเชื่ออำนาจในตน) และปัจจัยครอบครัว (ความสัมพันธ์กับบิดามารดา การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และการถ่ายทอดการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบิดามารดา) ส่งผลทางบวกต่อภูมิคุ้มกันทางจิต และภูมิคุ้มกันทางจิตส่งผลโดยตรงทางบวกต่อคุณภาพของเยาวชนและการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่ปัจจัยเพื่อน (ความสัมพันธ์กับเพื่อน การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน และการเห็นแบบอย่างจากเพื่อนในการใช้ชีวิตด้วยความพอเพียง) มีอิทธิพลทางบวกต่อเจตคติต่อการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบดังกล่าวนี้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยภูมิคุ้มกันทางจิตมีบทบาทเป็นตัวแปรคั่นกลางความสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะและปัจจัยครอบครัวกับคุณภาพของเยาวชน ผลการวิจัยยังพบว่า จิตลักษณะมีอิทธิพลสูงสุดต่อภูมิคุ้มกันทางจิต รองลงมาคือ ปัจจัยครอบครัว ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ได้เสนอแนะว่าภูมิคุ้มกันทางจิตทำหน้าที่เป็นทั้งปัจจัยที่ปกป้องภัยคุกคามต่างๆ ที่มีต่อบุคคล แล้วยังทำหน้าที่ เป็นปัจจัยส่งเสริมหรือสนับสนุนให้บุคคลมีชีวิตที่มีคุณภาพ
คำสำคัญ: ภูมิคุ้มกันทางจิต คุณภาพชีวิต การถ่ายทอดทางสังคม เยาวชน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Behavioral Science Research Institute, SWU
114 Sukhumvit 23, Bangkok 10110, Thailand.
Tel.02-649-5000 # 17600