ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านโครงการธนาคารโรงเรียน ครอบครัวและการมีภูมิคุ้มกันทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมประหยัดและเก็บออมเงินของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ธนญา ราชแพทยาคม
  • งามตา วนินทานนท์
  • นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล

Abstract

Causal Factors of School Bank Project, Family and Psychological Immunity Related to Thrift Behaviors of Secondary Students in Bangkok

The objective of this study was to investigate whether causal factors, family, psychological traits and psychological states related to thrift behaviors and why. The participants were 537 Mattayomsuksa 2 students. Interactionism Model was adopted as a conceptual framework. Fourteen Summated Rating Scales were constructed. The reliability     of each item ranged from .56 to .87. Six hypotheses were assessed. The data was statistically analyzed by: 1) Three-Way ANOVA 2) The Standard Multiple Regression Analysis and            3) The Canonical Correlation Analysis. Research findings revealed that 1) Students who were members of school bank project had positive attitudes to the project and they also had saving behaviors and support their friends to be thrifty more than their counterparts. 2) Situational factors, psychological traits and psychological states could predict the thrift behaviors. The variables could account for 33.7 to 50%. The highest predictability was revealed among the students with low educated fathers. The variables could account for 43.1 to 58.8% for peer supporting behavior for saving and depositing money. The highest predictability was revealed among the students with low educated mothers. 3) The students with less thrift behavior                 (at-risk students) were male students and students with low GPA.

 Keywords:  thrift behavior, school bank project, psychological immunity

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่าปัจจัยเชิงสาเหตุด้านโครงการธนาคารโรงเรียน ครอบครัวจิตลักษณะเดิม และจิตลักษณะตามสถานการณ์เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมประหยัดและเก็บออมเงินมากน้อยเพียงใดและเพราะเหตุใด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 537 คน ใช้กรอบแนวคิดรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม เป็นพื้นฐานในการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนด  ตัวแปรเชิงสาเหตุสำคัญกลุ่มต่างๆของพฤติกรรมประหยัดและเก็บออมเงิน แบบวัดเป็นชนิดมาตรประเมินรวมค่า จำนวน 14 แบบวัด แต่ละแบบวัด  มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่า อยู่ระหว่าง .56 ถึง .87 มีสมมติฐาน 6 ข้อ ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบสามทาง 2) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐานและ      3) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบแคนอนิเคิล ผลวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียนมีเจตคติที่ดีต่อโครงการธนาคารโรงเรียนมีพฤติกรรมประหยัดการใช้จ่าย และพฤติกรรมสนับสนุนให้เพื่อนประหยัดและเก็บออมเงินมากกว่านักเรียนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก 2) ตัวแปรเชิงสาเหตุด้านลักษณะสถานการณ์       จิตลักษณะเดิมและจิตลักษณะตามสถานการณ์รวม 12 ตัวแปร สามารถทำนายพฤติกรรมประหยัดการใช้จ่ายได้ มีปริมาณทำนายอยู่ระหว่างร้อยละ 33.7 ถึง 50.0 โดยทำนายได้สูงสุดในกลุ่มนักเรียนที่บิดามีการศึกษาต่ำ และทำนายพฤติกรรมสนับสนุนให้เพื่อนประหยัดและเก็บออมเงินได้ มีปริมาณทำนายอยู่ระหว่างร้อยละ 43.1 ถึง 58.8  โดยทำนายได้สูงสุด ในกลุ่มนักเรียนที่มารดามีการศึกษาต่ำ และ 3) พบว่านักเรียนที่มีพฤติกรรมประหยัดและเก็บออมเงินน้อย (กลุ่มเสี่ยง) คือนักเรียนชาย และนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ

 

คำสำคัญ: พฤติกรรมประหยัดและเก็บออมเงิน โครงการธนาคารโรงเรียน ภูมิคุ้มกันทางจิต 

Author Biographies

ธนญา ราชแพทยาคม

Graduate Student, Master degree in Applied Behavioral Science  Research, Srinakharinwirot University

งามตา วนินทานนท์

Associate Professor at Behavioral Science  Research Institute, Srinakharinwirot University

นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล

Lecturer at Applied Behavioral Science  Research Institute, Srinakharinwirot University

Downloads

Published

2012-07-30

How to Cite

ราชแพทยาคม ธ., วนินทานนท์ ง., & ศุภฤกษ์ชัยสกุล น. (2012). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านโครงการธนาคารโรงเรียน ครอบครัวและการมีภูมิคุ้มกันทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมประหยัดและเก็บออมเงินของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร. The Periodical of Behavioral Science, 18(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2212