ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย: ตัวแบบสมการโครงสร้าง (Psycho-Social Factors Correlated with HIV/AIDS Preventive Behavior in Men Who Have Sex with Men: A Structural Equation Model)

Authors

  • ศรัณย์ พิมพ์ทอง
  • ดุจเดือน พันธุมนาวิน

Abstract

This study examined the cause-and effect model of psycho-social factors affecting HIV/AIDS preventive behavior among Thai men who have sex with men (MSM), based on      the Interactionism model as the conceptual research framework. 666 working-aged MSM in Bangkok were recruited and assessed using structured questionnaires. Stratified quota random sampling method was employed to obtain the participants. The data was analyzed through structural equation model. The results were as follows; 1) Avoidance of HIV/AIDS risk behavior was directly positively affected by attitudes toward HIV/AIDS prevention, mental health, peers influence and Buddhist way of life. Moreover, it was directly negatively affected by self-efficacy beliefs and receiving AIDS information. All causal variables altogether accounted for 43% of variance of avoidance of HIV/AIDS risk behavior. 2) HIV/AIDS preventive behavior during sexual intercourse was directly positively affected by self-efficacy beliefs, attitudes toward HIV/AIDS prevention and mental health. Furthermore, it was directly negatively affected by peers’ influence and perceived availability and accessibility to condoms. All causal variables altogether accounted for 46% of variance of HIV/AIDS preventive behavior during sexual intercourse. Based on the results, interventions could be developed to enhance safer sex behavior among Thai MSM. All essential psycho-social factors should be integrated in interventions designed to address HIV preventive behavior. Importantly, focus groups discussions with Thai MSM could be conducted to further explore the various perspectives regarding high-risk sexual behaviors in this vulnerable population.

 

Keywords:  HIV, AIDS, men who have sex with men, HIV/AIDS preventive behavior,psycho-social factors

บทคัดย่อ 

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทดสอบแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 666 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งขั้นกำหนดโควต้า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ประการแรกคือ  การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์ ได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากตัวแปรเชิงเหตุ ได้แก่ ทัศนคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ สุขภาพจิต อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม และวิถีชีวิตแบบพุทธ และได้รับอิทธิพลทางลบโดยตรงจาก ความเชื่อในประสิทธิผลแห่งตนต่อการป้องกันโรคเอดส์ และการได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องเอดส์ กลุ่มตัวแปรสาเหตุนี้ร่วมกันอธิบายการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์ได้ร้อยละ 43 ประการที่สอง พฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ขณะมีเพศสัมพันธ์ ได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากตัวแปรเชิงเหตุ ได้แก่ ความเชื่อในประสิทธิผลแห่งตนต่อการป้องกันโรคเอดส์ ทัศนคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ และสุขภาพจิต และได้รับอิทธิพลทางลบโดยตรงจาก อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม และการรับรู้การมีอยู่และความสะดวกในการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันเอดส์ กลุ่มตัวแปรสาเหตุนี้ร่วมกันอธิบายพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ร้อยละ 46

 

คำสำคัญ  เอชไอวี เอดส์ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ ปัจจัยทางจิตสังคม 

 

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทดสอบแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 666 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งขั้นกำหนดโควต้า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ประการแรกคือ  การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์ ได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากตัวแปรเชิงเหตุ ได้แก่ ทัศนคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ สุขภาพจิต อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม และวิถีชีวิตแบบพุทธ และได้รับอิทธิพลทางลบโดยตรงจาก ความเชื่อในประสิทธิผลแห่งตนต่อการป้องกันโรคเอดส์ และการได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องเอดส์ กลุ่มตัวแปรสาเหตุนี้ร่วมกันอธิบายการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์ได้ร้อยละ 43 ประการที่สอง พฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ขณะมีเพศสัมพันธ์ ได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากตัวแปรเชิงเหตุ ได้แก่ ความเชื่อในประสิทธิผลแห่งตนต่อการป้องกันโรคเอดส์ ทัศนคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ และสุขภาพจิต และได้รับอิทธิพลทางลบโดยตรงจาก อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม และการรับรู้การมีอยู่และความสะดวกในการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันเอดส์ กลุ่มตัวแปรสาเหตุนี้ร่วมกันอธิบายพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ร้อยละ 46

 

คำสำคัญ  เอชไอวี เอดส์ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ ปัจจัยทางจิตสังคม

Author Biographies

ศรัณย์ พิมพ์ทอง

Doctoral degree holders, School of Social and Environmental Development, National Institute of  Development Administration

ดุจเดือน พันธุมนาวิน

Associate Professor, School of Social and Environmental Development, National Institute of Development Administration

Downloads

Published

2012-07-30

How to Cite

พิมพ์ทอง ศ., & พันธุมนาวิน ด. (2012). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย: ตัวแบบสมการโครงสร้าง (Psycho-Social Factors Correlated with HIV/AIDS Preventive Behavior in Men Who Have Sex with Men: A Structural Equation Model). The Periodical of Behavioral Science, 18(2). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/2214