ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการความเครียดของทหารเรือกองทัพเรือ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการจัดการความเครียด, ปัจจัยทางจิตสังคม, ทหารเรือบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญในการทำนายพฤติกรรมการจัดการความเครียดของทหารเรือกองทัพเรือ กลุ่มตัวอย่าง คือ หน่วยงานภายใต้กองทัพเรือ B จำนวน 359 คนได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประเมินค่า 6 ระดับ จำนวน 8 ตอน ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและได้มีการหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค (Cronbach’s Alpha Coefficient) พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าระหว่าง .608 ถึง .913 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรทำนายสำคัญของพฤติกรรมการจัดการความเครียดของทหารเรือกองทัพเรือ คือ ความหยุ่นตัว (ค่าเบต้า .438) และการรับรู้ความสามารถของตนเอง (ค่าเบต้า .271) และสถานภาพสมรส (ค่าเบต้า .106) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 ทั้งสามตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการความเครียดในกลุ่มรวมได้ร้อยละ 42.39 ในส่วนของการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างความหยุ่นตัวและการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการจัดการความเครียดในด้านรวมและรายด้าน 2) ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการจัดการความเครียดในด้านรวมและรายด้าน 3) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างความหยุ่นตัวและบรรยากาศในการทำงานที่ก่อให้เกิดความเครียดกับพฤติกรรมการจัดการความเครียดในด้านรวมและด้านการจัดการความเครียดโดยมุ่งแก้ไขอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
References
Bandura, A. (1977). Social learning theory: Englewood Cliffs, N.J. : Prentice Hall.
Cloninger, S. C. (2009). Theories of personality : understanding persons (5th ed..): Upper Saddle River, NJ : Pearson Education.
Grotberg. (1995). A guide to promoting resilience in children:strengthening the human spirith. ttps://bibalex.org/baifa/Attachment/Documents/115519.pdf
Snyder, C. R., และ Lopez, S. J. (2002). Handbook of positive psychology: New York : Oxford University Press.
กรมสุขภาพจิต. (2555). คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุงใหม่). In.
กรมสุขภาพจิต. (2560). การส่งเสริมสุขภาพจิต แนวคิด หลักฐาน และแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วนิดาการพิมพ์.
ตันติมา ด้วงโยธา. (2553). การศึกษาและพัฒนาความหยุ่นตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล. (ปริญญานิพนธ์ (กศ.ด. (จิตวิทยาการให้คำปรึกษา))). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
นิรมล พัจนสุนทร, และ พูนศรี รังษีขจี. (2550). พฤติกรรมศาสตร์. ขอนแก่น: ขอนแก่น : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปวิตรา ลาภละมูล. (2557). ความเครียดภายในองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไอ.เทค.คอมมูนิเคชั่น จำกัด. สารนิพนธ์ (บธ.ม. (การจัดการ)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2557.
ปัญจภร หอมฤทัยกมล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการมองโลกในแง่ดี ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค และการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ : กรณีศึกษาพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี (Book): ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิยพัฒน์ วงศ์สินอุดม. (2557). ความหวัง การมองโลกในแง่ดี การเผชิญปัญหา และความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
พจนา เปลี่ยนเกิด. (2552). ปัจจัยทำนายความเครียดของทหาร ที่ปฏิบัติงานในอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส. In: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พจนี ฐอสุวรรณ. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความเครียด และคุณภาพชีวิต ในการทำงานของพนักงาน ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหิทธิ ประสานศักดิ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ กับวิธีเผชิญความเครียดของครู โรงเรียนประถมศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนที่อยู่ภายใต้สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิเขต 1. In: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ยชญ์รวินทร์ จรบุรมย์. (2560, มกราคม-เมษายน). ผลของการเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์เพื่อลดความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารกองการพยาบาล, 44, 103-115.
รอฮานิ เจะอาแซ, ฮัสณาฐ์ โต๊ะพา, สุไฮดาร์ แวเตะ, ฉมาพร หนูเพชร, เจ๊ะยารีเย๊าะ เจะโซ๊ะ, วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ, และ คอลีเยาะ เจะแว. (2560). อัตราการใช้สารเสพติดและการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติดในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้. 28(2).
สมศักดิ์ วังเอี่ยมเสริมสุข. (2554). การเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยด้านงานที่ส่งผลต่อความเครียดและพฤติกรรมเผชิญความเครียดของพนักงานรัฐวิสาหกิจ : กรณีศึกษาพนักงาน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สำนักงานหลักสี่และสำนักงานบางรัก. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
สัมพันธ์ เวียงสงค์. (2550). ปัจจัยส่วนบุคคลบทบาททางเพศกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหาในการทำงาน กรณีศึกษาพนักงานระดับปฏิบัติการในระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน. (ศศ.ม. (จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ)). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
สุมลรัตน์ ดอกเขียว. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนจากงาน การสนับสนุนจากครอบครัวและความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานบริการโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. (ปริญญานิพนธ์. ศป.ม. (สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ)). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ไหมไทย ไชยพันธ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตกับความเครียดในการปฏิบัติงานของทหารในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีรูปแบบการเผชิญปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่าน.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย : รายงานการวิจัยฉบับที่ 115 กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฮาลโลเวล เอ็ดเวิร์ด. (2552). กลวิธีการจัดการความเครียดสำหรับผู้นำ = Managing stress (ณัฐวรรธน์ กิจรัตนโกศล). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
114 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทร 02-649-5000 ต่อ 17600