การถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ: กระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ ในชีวิตการทำงาน

Authors

  • ฐาศุกร์ (Thasuk) จันประเสริฐ (Junprasert) อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ณัฐพงษ์ (Nutthapong) ธรรมรักษาสิทธิ์ (Thammaruksasit) นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

Abstract

Professional Socialization: A Developmental Process of Professionalism in the Worklife

บทคัดย่อ

การถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการหล่อหลอมและพัฒนาบุคคลตั้งแต่ก่อนก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงาน เมื่อเข้าสู่ชีวิตการทำงาน และกระทั่งมีความมั่นคงในการทำงาน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ ตลอดจนสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและศึกษากรณีตัวอย่างของนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการถ่ายทอดทางสังคมไปสู่ความเป็นมืออาชีพในบริบทของไทย โดยใช้วิธีการศึกษากรณีตัวอย่าง เพื่อนำมาสังเคราะห์เชื่อมโยงกับมุมมองในเชิงทฤษฎีและข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการศึกษาวิจัยด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งพบว่ากระบวนการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนเข้าสู่วิชาชีพ ระยะระหว่างการทำงานในสายวิชาชีพ และระยะมั่นคงเชิงวิชาชีพ โดยในแต่ละระยะประกอบด้วยตัวแทน เนื้อหา และกลวิธีในการถ่ายทอดแตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังพบว่า เอกลักษณ์เชิงวิชาชีพประกอบด้วยคุณลักษณะหลัก 3 ประการคือ 1) คุณลักษณะเด่นด้านบุคลิกภาพ อาทิ ช่างสังเกตช่างสงสัย ความรอบรู้ มีจินตนาการสูง 2) คุณลักษณะเด่นด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อาทิ ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในการประนีประนอม และ 3) คุณลักษณะเด่นด้านการทำงาน อาทิ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความสามารถในการบริหารงาน

 

คำสำคัญ:การถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ ความเป็นมืออาชีพ ชีวิตการทำงาน 

Downloads

Published

2015-01-31

How to Cite

จันประเสริฐ (Junprasert) ฐ. (Thasuk), & ธรรมรักษาสิทธิ์ (Thammaruksasit) ณ. (Nutthapong). (2015). การถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ: กระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ ในชีวิตการทำงาน. The Periodical of Behavioral Science, 21(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/29907