ปัจจัยเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อบทบาท เอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจ

Authors

  • ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ (Pinyapan Roamchart)
  • ดุษฎี โยเหลา (Dusadee Yolao)
  • สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์ (Somsak Seedagulrit)
  • มนัส บุญประกอบ (Manat Boonprakob)

Abstract

The purposes of this study were 1) to develop the linear structural relations model among antecedents of role commitment, role identity, learning motivation, and role ambiguity concerning role performance of gifted students in science and mathematics, 2) to study structural invariance among antecedents of role commitment, role identity, learning motivation, and role ambiguity concerning role performance between gifted female and male students in science and mathematics, and 3) to develop practice guidance in behavioral science for teachers to develop science students’ identity and role performance. Samples were 399 gifted students in science and mathematics who studied in secondary school grade 5 in the academic year 2009 and 4 teachers who taught in the science subject group and Science Club Activities at upper secondary school. Instruments applied to two groups of samples for collecting data were questionnaires and focus group method. The results showed that the linear structural relations model among antecedents of role commitment, role identity, learning motivation, and role ambiguity concerning role performance of gifted students in science and mathematics fitted with the empirical data. The form of causal relations was similar between female and male gifted students in science and mathematics. There was invariance in factor loading on extraneous observed variables, internal observed variables, path coefficients between extraneous latent variables on internal latent variables and path coefficients between internal latent variables on internal latent variables.  In addition, these results led to the suggestions for  teachers to develop students’ identity and role performance as  practical guidance through behavioral science. This guidance further suggested that teachers should set activities focusing on interaction between students and teachers who taught science subjects and also among peer groups. In addition, the students should get chances to participate in science activities with scientists.

 Keywords: role commitment, identity, learning motivation, role ambiguity, role performance, gifted student in science and mathematics

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อบทบาท เอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และความคลุมเครือในบทบาทที่มีผลต่อพฤติกรรมตามบทบาทของนักเรียนวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อบทบาท เอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และความคลุมเครือในบทบาทที่มีผลต่อพฤติกรรมตามบทบาทของนักเรียนวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่มีเพศแตกต่างกัน และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติทางพฤติกรรมศาสตร์ในการพัฒนาเอกลักษณ์และพฤติกรรมตามบทบาทของนักเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับครู  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 399 คน และครูจำนวน 4 คน ซึ่งเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และครูผู้สอนกิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้การสนทนากลุ่มและใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์หลังจากการปรับโมเดล สำหรับผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลพบว่า รูปแบบของโมเดลของนักเรียนเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกัน และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรภายนอกสังเกตได้และตัวแปรภายในสังเกตได้ และค่าอิทธิพลระหว่างตัวแปรภายนอกแฝงที่มีต่อตัวแปรภายในแฝง และค่าอิทธิพลระหว่างตัวแปรภายในแฝงที่มีต่อตัวแปรภายในแฝงไม่แตกต่างกัน  ส่วนการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันด้านปฏิสัมพันธ์และความผูกพันด้านอารมณ์พบว่าไม่มีปฏิสัมพันธ์  และนอกจากนี้ผลการวิจัยยังได้แนวทางการปฏิบัติทางพฤติกรรมศาสตร์ในการพัฒนาเอกลักษณ์และพฤติกรรมตามบทบาทของนักเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับครูที่กระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนวิทยาศาสตร์กับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน รวมถึงการกระตุ้นให้นักเรียนได้พูดคุยหรือทำกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์

คำสำคัญ : ความผูกพันต่อบทบาท  เอกลักษณ์  แรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์  ความคลุมเครือในบทบาท พฤติกรรมตามบทบาท  นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์


Downloads

How to Cite

ร่วมชาติ (Pinyapan Roamchart) ภ., โยเหลา (Dusadee Yolao) ด., สีดากุลฤทธิ์ (Somsak Seedagulrit) ส., & บุญประกอบ (Manat Boonprakob) ม. (2011). ปัจจัยเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อบทบาท เอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจ. The Periodical of Behavioral Science, 17(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/368