ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคสื่อด้วยปัญญาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • จินตนา ตันสุวรรณนนท์(Chintana Tansuwannond)
  • ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ (Pinkanok Wongpinpech)
  • ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย(Chanya Leesattrupa)

Abstract

The objectives of this research were to study the causes of unsuitable media consumption behavior and to investigate the predictive factors of intellectual media consumption behavior of undergraduate students in Bangkok. Both qualitative and quantitative methods were used. The qualitative method in this research was in-depth interviews and focus group. The interviewed key informants consisted of 1) scholars from the field of communication arts and psycho-behavioral science 2) persons who involved in child and adolescent development from public and private organizations 3) undergraduate students of universities in Bangkok. In terms of the quantitative method, the samples consisted of 481 undergraduate students in Bangkok. They were selected viamulti - stage random sampling. The data were collected by questionnaires. Statistical methods used to analyze data were Pearson Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple regression. The results indicated some important the personal factors, like students lacking in media literacy, awareness of media effect ,inquiry and self control. In terms of social factors, students were induced to consume unsuitable media by peer group and were unsuitably socialized by family. Educational institutes didn’t support to develop students’ media literacy and thinking skill system. Media producers lacked ethics. Besides, entrepreneurs and government officers lacked social responsibility. All together, media literacy, self control, inquiry and influence of peer group, were the co-predictors of undergraduate students’ intellectual media consumption behavior that could be predictable at 40.0 percent, with statistical significance at the .001 level.

Key words :

Intellectual media consumption behavior, Media literacy

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมการบริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสม และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคสื่อด้วยปัญญาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ในการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ 1) กลุ่มของนักวิชาการทางด้านนิเทศศาสตร์และด้านจิตพฤติกรรมศาสตร์ 2) กลุ่มของบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนทั้งจากองค์กรภาครัฐและเอกชน และ 3) กลุ่มของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 481 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น ผลวิจัยพบว่า สาเหตุของพฤติกรรมการบริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสมของนักศึกษา ได้แก่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย การไม่รู้เท่าทันสื่อการขาดความตระหนักถึงผลกระทบของสื่อ การขาดการใฝ่รู้ การขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง และ 2)ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนในการชักจูงให้เปิดรับสื่อที่ไม่เหมาะสม การถ่ายทอดทางสังคมจากครอบครัวที่ไม่เหมาะสม สถาบันการศึกษาไม่ส่งเสริมการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อและระบบการคิดของผู้เรียนการขาดจรรยาบรรณของสื่อ การขาดความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมีปัจจัย4 ตัวแปรที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคสื่อด้วยปัญญาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การรู้เท่าทันสื่อ การควบคุมตน การใฝ่รู้และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ทั้งสี่ตัวแปรนี้ร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 40.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

 

คำสำคัญ : พฤติกรรมการบริโภคสื่อด้วยปัญญา การรู้เท่าทันสื่อ

Downloads

How to Cite

ตันสุวรรณนนท์(Chintana Tansuwannond) จ., วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ (Pinkanok Wongpinpech) ป., & ลี้ศัตรูพ่าย(Chanya Leesattrupa) ช. (2011). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคสื่อด้วยปัญญาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. The Periodical of Behavioral Science, 16(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/504