นิยามการทำงานอาสาสมัครอย่างยั่งยืนของวุฒิอาสาธนาคารสมอง (The Definition of a Sustained Volunteerism in Senior Volunteer of Brain Bank)
Keywords:
การทำงานอาสาสมัครอย่างยั่งยืน, กระบวนการทำงานอาสาสมัครอย่างยั่งยืน, วุฒิอาสาธนาคารสมองAbstract
This research regarding the definition of sustained volunteerism and understanding volunteer process in senior volunteer of brain bank by using qualitative research methodology based on qualitative case study. To select the key informants by purposive sampling, data was collected by using focus group and in-depth interview with 10 senior volunteers of brain bank at Nakhon Ratchasima Provice, the data was analyzed using inductive content analysis. The result of this study showed that sustained volunteerism in senior volunteer of brain bank means action without expecting something return in the form of money, voluntary action, action with ability according to their potential, action with happiness and action continuously. Sustained volunteer process can be divided in three phases; 1) antecedents of volunteerism, retirees decided to join as a member of senior volunteer of brain bank; 2) Experiences of Volunteers, senior volunteer joined the volunteer activities and received feedback that affect the decision to participate volunteer activities in the future; 3) Existence of Volunteerism, evaluate the results and decide the participation in the long run. Results of this study will be used as a guideline for management of senior volunteer of brain bank effectively.
Keyword: Sustained Volunteerism, Sustained Volunteerism Process, Senior Volunteer of
Brain Bank
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาความหมายของการทำงานอาสาสมัครอย่างยั่งยืนและทำความเข้าใจกระบวนการทำงานอาสาสมัครอย่างยั่งยืนจากมุมมองของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ศึกษาด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษาเฉพาะกรณี (Qualitative Case Study) ด้วยการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มวุฒิอาสาที่เป็นต้นแบบที่ดีในการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง คือ วุฒิอาสาธนาคารสมองจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 10 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงอุปนัย (Inductive Content Analysis) ด้วยการจำแนกประเภทข้อมูล เปรียบเทียบข้อมูล และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่าการทำงานอาสาสมัครอย่างยั่งยืนหมายถึง การกระทำโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนในรูปของทรัพย์สินเงินทอง การกระทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น การกระทำด้วยความสมัครใจ การกระทำด้วยความรู้ความสามารถตามศักยภาพของตนเอง การกระทำด้วยความสุขใจ และการกระทำอย่างต่อเนื่อง และกระบวนการทำงานอาสาสมัครอย่างยั่งยืนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนประสบการณ์การทำงานอาสาสมัคร คือ ระยะที่ผู้เกษียณอายุตัดสินใจเข้าร่วมเป็นวุฒิอาสาธนาคารสมอง 2) ระยะได้รับประสบการณ์การทำงานอาสาสมัคร คือ ระยะที่วุฒิอาสาได้ใช้ความรู้ความสามารถในการร่วมทำงานอาสาสมัครและได้รับข้อมูลป้อนกลับซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจทำงานอาสาสมัครต่อไปหรือยุติบทบาทของการเป็นวุฒิอาสา และ 3) ระยะการดำรงอยู่ของการทำงานอาสาสมัคร คือ ระยะที่วุฒิอาสาประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานอาสาสมัครและตัดสินใจทำงานอาสาสมัครอย่างต่อเนื่องต่อไป ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นแนวทางในการบริหารการทำงานอาสาสมัครของวุฒิอาสาธนาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดกระบวนการที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ: การทำงานอาสาสมัครอย่างยั่งยืน กระบวนการทำงานอาสาสมัครอย่างยั่งยืน วุฒิอาสาธนาคารสมอง
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Behavioral Science Research Institute, SWU
114 Sukhumvit 23, Bangkok 10110, Thailand.
Tel.02-649-5000 # 17600