การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินแบบวัดจริยธรรมหลุดในงานวิจัย

Authors

  • ดุจเดือน (Duchduen) พันธุมนาวิน (Bhanthumnavin) National Institute of Development Administration

Abstract

จริยธรรมหลุดเป็นตัวแปรใหม่ในวงการจริยธรรมซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ นักวิชาการต่างประเทศได้สร้างแบบวัดจริยธรรมหลุดในประเด็นต่างๆ แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยนั้นยังไม่ปรากฏ จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาและประเมินแบบวัดจริยธรรมหลุดในงานวิจัย ในบทความนี้ประกอบด้วย 4 งานวิจัย จากข้อมูลของ 1,487 นักวิจัยไทย ในขั้นตอนต่างๆ ของการสร้างแบบวัด ซึ่งทำให้ได้แบบวัดจริยธรรมหลุดในงานวิจัย ที่ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทำไม่ดี แล้วมีข้ออ้างข้อแก้ตัว 2) พูดให้ดูดี และ 3) ปัดหรือกระจายความรับผิดชอบรวมจำนวน 12 ข้อ  ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 61.38% ซึ่งโมเดลการวัดมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  แบบวัดนี้มีความสัมพันธ์สูงในทางลบกับเอกลักษณ์ด้านจริยธรรมการวิจัย และยังแสดงถึงความตรงในเชิงการเพิ่มอำนาจการทำนายอีกด้วย

Downloads

Published

2017-07-31

How to Cite

พันธุมนาวิน (Bhanthumnavin) ด. (Duchduen). (2017). การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินแบบวัดจริยธรรมหลุดในงานวิจัย. The Periodical of Behavioral Science, 23(2), 118–138. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/92377