Login or Register to make a submission.
คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ

เกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ

            บทความที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง ต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน  ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ (Peer  Review) ทั้งภายในและภายนอกสถาบันฯ จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ เห็นควรให้มีการตีพิมพ์ได้ ไม่น้อยกว่า 2 คน ขึ้นไป  และจะต้องมีการจัดพิมพ์ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางกำหนด จัดพิมพ์ต้นฉบับด้วยตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 14 pt. จำนวนไม่เกิน 15 หน้า กระดาษ A4 ซึ่งสามารถศึกษาจาก “คำแนะนำการจัดทำบทความสำหรับวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง” สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม (Template) ได้ที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/Download

ขั้นตอนการเตรียมต้นฉบับ

1.  บทความวิจัย

            1)  ชื่อเรื่องให้เขียนชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 18 pt. หนา)

            2)  ชื่อผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย ให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษหากมีผู้วิจัยหลายคนให้ใช้หมายเลขกำกับ (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 16 pt. ปกติ) และระบุรายละเอียดของผู้เขียน หน่วยงานต้นสังกัด และอีเมล์ (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 14 pt. ปกติ)

            3)  บทคัดย่อให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และควรมีคำสำคัญ (Keywords) จำนวน 2 – 5 คำ (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 14 pt. ปกติ)

            4)  เนื้อเรื่อง (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 14 pt. ปกติ) ประกอบด้วย

                        1.  บทนำ

                        2.  วัตถุประสงค์การวิจัย

                        3.  สมมติฐานของการวิจัย (ถ้ามี)

                        4.  กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี)

                        5.  วิธีการดำเนินการวิจัย

                        6.  ผลการวิจัย

                        7.  สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

                        8.  อภิปรายผลการวิจัย

                        9.  เอกสารอ้างอิง ใช้การอ้างอิงตามแนวเอพีเอ (APA – American  Psychological  Association  Edition) ทั้งเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามตัวอย่างดังนี้ (/ หมายถึงการเคาะวรรค 1)

ภาษาไทย

ออนไลน์

ทิพวรรณ พัทยานุกูล.//(2559).//จรรยาบรรณนักวิจัย.//ค้นเมื่อ/พฤษภาคม/3,/2548,/จาก/

///////http://www.kalathai.com/think/view_hot.php?article_id=9

การประชุม, อบรม, สัมมนา

วันชัย ศิริชนะ.//(2541).//การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา.//ใน/รายงานการสัมมนา

///////เรื่อง ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับประกันคุณภาพการศึกษา/(2-4/ธันวาคม

///////หน้า/69-74).//เชียงใหม่:/กองห้องสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วารสาร

วัลลภ สันติประชา และชูศักดิ์ ณรงค์เดช.//(2553, มีนาคม).//คุณภาพเมล็ดถั่วเขียวในภาคใต้.//

///////เกษตรศาสตร์,/49,/(4),/หน้า/1-16.

หนังสือ

กฤษณะ เรืองเดช.//(2552).//การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้.//กรุงเทพฯ:/ผนึกไทย.

วิทยานิพนธ์

สมศักดิ์ รักษ์วงศ์.//(2528).//การศึกษาการใช้ยาชนิดต่าง ๆ ในการป้องกันโรคสนิมของ

///////ถั่วเหลือง.//วิทยานิพนธ์/ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต/สาขาวิชาการบริหารการศึกษา/

///////บัณฑิตวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พจนานุกรม

ราชบัณฑิตยสถาน.//(2546).//พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.//กรุงเทพฯ:/

///////นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.

 

English

Journal

Mckenzil, J.F. & Williams, C.I.//(1982, May).//Are you students learning in a safe

///////environment.//Journal of school health,/8,/(5),/pp./284-285.

Academic Conference

Hill1, M.J.,Archer, K.A.  and  Hutchinson, K.J.//(1989).//Towards developing a model

///////of Persistence and production for white clover.//In/Proceedings of the XIII

///////International Grassland Congress/(4-11/October/pp./1043-1044).//

///////France:/Nice.

Book

Lewe, W.  (2009).//Orthopedic massage : theory and technique.//(2nd ed.).//   

///////Edinburgh:/Mosby Elsevier.

Thesis

Niphawan, S.//(2008).//Caregiver role strain and rewards of caregiving:

///////A study of caring for traumatic brain injured patients in eastern

///////Thailand.//(Doctoral dissertation)./Mahidol University,/Bangkok.


2.  บทความวิชาการ

            1)  ชื่อเรื่องให้เขียนชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 18 pt. หนา)

            2)  ชื่อเจ้าของบทความ  ให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษหากมีผู้วิจัยหลายคนให้ใช้หมายเลขกำกับ (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 16 pt. ปกติ) และระบุรายละเอียดของผู้เขียน หน่วยงานต้นสังกัด และอีเมล์ (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 14 pt. ปกติ)

            3)  เนื้อหา (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 14 pt. ปกติ) ประกอบด้วย

                        1.  บทคัดย่อ  ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และควรมีคำสำคัญ (Keywords) จำนวน 2 – 5 คำ (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 14 pt. ปกติ)

                        2.  เนื้อความ (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 14 pt. ปกติ)

                        3.  เอกสารอ้างอิง (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK 14 pt. ปกติ)

ทั้งนี้ผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป รวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 30% โดยมีผลตั้งแต่ เดือนกันยายน 2562 เป็นตันไป

ประกาศ ผู้ใช้งานวารสารแก้ไขข้อมูลส่วนตัวในส่วน ชื่อ (ไม่ต้องมีคำนำหน้า) นามสกุล และชื่อเต็มพร้อมตำแหน่ง (ถ้ามี) ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย(ถ้ามี) ให้ถูกต้อง
https://drive.google.com/…/1mses7-Rf-ivICXqyESpLgcxd-9…/view