การพัฒนาการสอนโดยใช้แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย เลย

Main Article Content

ทนงเกียรติ พลไชยา
ภูชิต ภูชำนิ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์  การวิจัยมี  2  ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและขั้นตอนที่  2  เป็นการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นในชั้นเรียนทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จำนวน  2  ห้องเรียน  ห้องเรียนละ  24  คน  เป็นห้องทดลอง 1  ห้อง  และห้องควบคุม  1  ห้อง  ใช้เวลาทดลอง  18  ชั่วโมง ในการแก้ปัญหาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์  และแบบสังเกตพฤติกรรมทางการเรียนรู้ของผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมในการแก้ปัญหาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์  และแบบสังเกตพฤติกรรมทางการเรียนรู้ของผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที  (t-test)  และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า  1)  รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย  5  ขั้นตอน  2)  รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่  .05  และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ .05  และ  3)  นักเรียนกลุ่มทดลองสามารถเชื่อมโยงและนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันได้มากขึ้น

Article Details

How to Cite
พลไชยา ท., & ภูชำนิ ภ. (2017). การพัฒนาการสอนโดยใช้แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย เลย. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 1(1), 28–36. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/246436
บท
บทความวิจัย

References

กิตติ พัฒนตระกูลสุข. (2546). การเรียนการสอน คณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยล้มเหลวจริงหรือ.ว.คณิตศาสตร์. 46(530 – 532) : 54 - 58.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์การอ่านและวิทยาศาสตร์นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

จรรยา ภูอุดม. (2544). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้. ปริญญานิพนธ์การศึกษา ดุษฎีบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จรรยา ภูอุดม. (2545). แนวทางการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลที่สอดคล้องกับสาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. ว.คณิตศาสตร์. 46 (524-526): 23-24.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2557). รายงานการวิเคราะห์คะแนนและคุณภาพของแบบทดสอบทางการศึกษา. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

สมวงษ์ แปลงประสบโชค, สมเดช บุญประจักษ์, และ จรรยา ภูอุดม. (2551). ผลสำรวจสาเหตุนักเรียนไทยอ่อนคณิตศาสตร์และแนวทางแก้ไข. ว.คณิตศาสตร์. 53(599-601): 20-28.

Clyde, C. G. (1967). Teaching mathematics in the elementary school. New York: Ronald Press.

Dickinson, P., Eade, F., Gough, S. and Hough, S. (2010). UsingRealistic Mathematics Education with to Middle Attaining Pupils in secondary schools. In Proceedings of the British Congress for Mathematics Education. (2010). (ed. Joubert, M. and Andrews, P.) Manchester: UK - University Place.

Doorman, M., Drijvers, P., Dekker, T., Van den Heuvel-Panhuizen, M. De Lange, J., and Wijers, M. (2007). Problem Solving as a Challenge for Mathematics Education in The Netherlands. J.ZDM MathematicsEducation. 39 (5-6) : 405-418.

National Council of Teachers of Mathematics. (1980). An agenda for action. Reston: VA:NCTM.