การสร้างเครื่องต้นแบบ เครื่องกัดซีเอ็นซี แบบพาราแรล คิเนเมติก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเครื่องต้นแบบ เครื่องกัดซีเอ็นซี แบบพาราแรล คิเนเมติก 2) เปรียบเทียบผลการเคลื่อนที่ระหว่างการจำลองการเคลื่อนที่โดยการออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการเคลื่อนที่จริงของเครื่องต้นแบบฯ ที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของหัวกัดโดยใช้สมการการเคลื่อนที่ที่สร้างขึ้นและ 3) ทดลองหาค่าความผิดพลาดโดยเฉลี่ยในการเคลื่อนที่เชิงเส้นตรงของหัวกัดในระนาบ XY จากการวิจัยพบว่า 1) เครื่องต้นแบบ เครื่องกัดซีเอ็นซีแบบพาราแรลคิเนเมติกมีการออกแบบให้ฐานเป็นวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 450 มม. มี 3 คอลัมน์ซึ่งมีความสูงโดยรวม 500 มม. ขับเคลื่อนโดยบอลสกรูขนาด 16 มม. ระยะลีดของบอลสกรู 5 มม. ใช้มอเตอร์แบบสเต็ปมอเตอร์ที่มีความละเอียดในการหมุน 0.9 องศา/สเต็ป ใช้สเต็ปไดรฟ์แบบไมโครสเต็ป มีความละเอียดในการเคลื่อนที่ที่ละเอียดที่สุด 0.05 มม. เมื่อควบคุมให้หัวกัดเคลื่อนที่ไปยังโคออดิเนตที่กำหนด 2) มีค่าความผิดพลาดของระยะความสูงของจุดวัดในแต่ละคอลัมน์ที่ดีที่สุดคือผิดพลาดเพียง 0.047 มม. และ 3) มีค่าความผิดพลาดโดยเฉลี่ยในการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงอยู่ที่ 0.184 มม. หรือ 1.77% สำหรับการเคลื่อนที่ในแนวแกน X และมีค่าความผิดพลาดโดยเฉลี่ย 0.163 มม. หรือ 1.63% สำหรับการเคลื่อนที่ในแนวแกน Y
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ที่ตั้ง 90 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 034 242 856 , โทรสาร 034 242 858 ISSN : 3056-9176 (print) ISSN : 2985-2382 (online) |
References
ธราธิป ภู่ระหงษ์. (2555). เครื่องมินิซีเอ็นซีควบคุมโดยโปรแกรม MACH3. ค้นเมื่อ มิถุนายน 26, 2556, จาก http://www.Scribd.com1 /doc/176456089/minicnc-mach3.html
Jinbo Wu and Zhouping Yin. (2012). A Novel 4-DOF Parallel Manipulator. Retrieved June 26, 2013, Form http://www.intechopen.com/
Milutinovic D. et al. (2008). Mini educational 3 axisparallel kinematic milling machine. International Confernce on Manufacturing Engineering. ICMEN, Chalkidiki, Greece, October 1-3, 2008. pp. 463-474.
Viera Poppeova et al. (2002). The Concept of HSC Milling Machine with Hybrid Kinematic Structuce Application. Retrieved June 26, 2013, Form www.Yumpu.com/en/document /view/51211391/The-concept-of-hsc-milling