การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่ออาชีพธุรกิจและบริการ สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอในรายวิชาวิทยาศาสตร์ 2) พัฒนาอาชีพธุรกิจและบริการสำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ ประชากร ได้แก่ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชีภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทีแบบไม่อิสระ ผลการศึกษาวิจัยพบว่าสื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอมีค่าประสิทธิภาพ 85.87/84.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ที่ตั้ง 90 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 034 242 856 , โทรสาร 034 242 858 ISSN : 3056-9176 (print) ISSN : 2985-2382 (online) |
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
กาญจนา วัฒายุ. (2544). การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2544). เทคโนโลยีทางการศึกษา : ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชนี อ่อนอุระ. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องพันธุกรรม วิชาวิทยาศาสตร์ 1 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส.1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาดุสิตพณิชยการ กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ สิงหาคม 15, 2559, จาก https://www.dcc.ac.th/academic/wp-content/uploads/2014/11/
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2548). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สยามสปอร์ตซินดิเคท.
สิทธิชัย ไตรโยธี. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดียกลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ปรากฏการณ์ทางอากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
สุรภา ชูสวัสดิ์. (2550). ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง สารชีวโมเลกุล สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.