ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ของครูวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม

Main Article Content

ฤกษ์ชัย ศรีสมบัติ
คมสัน กลางแท่น
พลกฤษณ์ หนูทองพูล
ธีระพงศ์ แสงสุวรรณ
กฤตนัน จั่นรัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของครูวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม  2)  ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา  และ  3)  สร้างสมการทำนายการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรครู  ประจำปี  2559  จำนวน  86  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ  0.89  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าความถี่ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  ผลการการวิจัยพบว่า  1)  ปัจจัยด้านความรู้ปัจจัยด้านทัศนคติ  และปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาอยู่ใน  ระดับมาก  2)  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา  พบว่า  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้านความรู้เท่ากับ  0.578  ด้านทัศนคติเท่ากับ  0.431  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และด้านแรงจูงใจเท่ากับ  0.259  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ  3)  สมการทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาคือสมการทำนายในรูปคะแนนดิบ gif.latex?{Y}'= 1.669+ .354  (ความรู้)  +  .706  (ทัศนคติ)  +  .126  (แรงจูงใจ)  และสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน  gif.latex?{Z}'  =  .485 (ความรู้)  +  .148  (ทัศนคติ)  +  .029  (แรงจูงใจ)  โดยมีค่าอำนาจในการทำนายการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาได้ร้อยละ  35.1

Article Details

How to Cite
ศรีสมบัติ ฤ., กลางแท่น ค., หนูทองพูล พ., แสงสุวรรณ ธ., & จั่นรัด ก. (2017). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ของครูวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 1(1), 76–84. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/246452
บท
บทความวิจัย

References

กนกนต จิรณัฐธนากุล. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ว. การพยาบาลและสุขภาพ. 9(3): 145-153.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จีรภา เพชรสงคราม. (2554). การศึกษาการมีส่วนร่วมของครูในการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตบางขุนเทียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. ( 2531). การวัดและการวิจัยทัศนคติที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ. ว. ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์.5(1): 62-81.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2547). การมีส่วนร่วม : หลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: สิริลักษณ์การพิมพ์.

เนตรรุ้ง อยู่เจริญ. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของครูสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรียาภรณ์ อนุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

พงศ์เทพ จิระโร. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. ชลบุรี: บัณฑิตเอกสาร.

พงศ์ธวัช วิวังสู. (2546). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานและลักษณะทางจิตที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม. (2558). มาตรฐานการศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม พ.ศ. 2558. นครปฐม: งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม.

สาวิตรี ไชยสมบัติ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษา. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Gustova, Wilches-Chaux. (1992). Community participation: proceeding. Colombia: H cabinet.Control. 4th ed. NewYork: McGraw-Hall.

Sears, David O., Peplan, Letitia Anne and Taylor, Shelly E. (991). Social Psychology. 7thed. Englewood Cliffs, N.Y.: Prentice-Hall International