อิทธิพลของกระแสไฟเชื่อมในการเชื่อมมิกต่อสมบัติรอยต่อ ระหว่างเหล็กกล้าคาร์บอนเกรด SS 400 กับเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 430

Main Article Content

สุวัฒ ภูเภา
อดิศร เปลี่ยนดิษฐ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์  เพื่อศึกษาอิทธิพลของกระแสไฟเชื่อมในการเชื่อมมิกต่อสมบัติรอยต่อระหว่างเหล็กกล้าคาร์บอนเกรด  SS  400  กับเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด  430  โดยใช้กระแสเชื่อม  4  ระดับ  คือ  90, 100, 110  และ 120  A  ผลการทดลองจากการตรวจสอบมหภาคทุกกระแสไฟเชื่อม  ความเร็วในการเชื่อม  400  มม./นาที แก๊สปกคลุม  Ar80% + CO220%  ที่กระแส  110  A จะให้แนวเชื่อมที่มีลักษณะการซึมลึกดี  ผิวรอยเชื่อมเป็นเกร็ดสวยงาม เหมาะสมต่อการเชื่อมที่สุด  การเชื่อมด้วยกระแส 100  –  120  A  แนวเชื่อม  มีความแข็งแรงมากกว่าชิ้นทดสอบเหล็ก SS400  เนื่องจากจุดขาดของชิ้นทดสอบแรงดึงไม่ได้ขาดที่บริเวณรอยเชื่อม  แต่ขาดบริเวณขอบพื้นที่กระทบร้อน (HAZ)  บนเนื้อเหล็ก  SS  400  โดยที่กระแส  110  A อิทธิพลของความร้อนส่งผลต่อโครงสร้างของชิ้นงานทำให้ได้ค่ารับแรงดึงสูงสุดที่  448  MP  ซึ่งจากการศึกษาพบว่า  ตัวแปรการเชื่อมดังกล่าวส่งผลต่อการหลอมละลาย  และการถ่ายโอนน้ำโลหะระหว่างลวดเชื่อมกับชิ้นงานโดยกระแสไฟช่วยให้การอาร์กมีความสมบูรณ์  กระแสไฟต่ำส่งผลต่อความแข็งแรงของแนวเชื่อม  เนื่องจากการหลอมละลายไม่สมบูรณ์ทำให้การขาดของชิ้นงานทดสอบแรงดึงจะขาดตรงบริเวณขอบแนวเชื่อมและให้ค่ารับแรงดึงต่ำสุดไม่จะขาดตรงบริเวณขอบแนวเชื่อมและให้ค่ารับแรงดึงต่ำสุดไม่เหมาะกับการเชื่อมทุกกระแสไฟเชื่อมจะให้ค่าความแข็งที่ใกล้เคียงกันโดยพบว่าบริเวณแนวเชื่อมจะให้ค่าความแข็งมากกว่าบริเวณอื่น  และค่าความแข็งบริเวณ  HAZ  ของชิ้นงาน  AISI  430การเชื่อมทุกกระแสไฟเชื่อมจะให้    ค่าความแข็งที่ใกล้เคียงกันโดยพบว่าบริเวณแนวเชื่อมจะให้ค่าความแข็งมากกว่าบริเวณอื่น  และค่าความแข็งบริเวณ  HAZ  ของชิ้นงาน  AISI  430  มีค่าความแข็งมากกว่าบริเวณ  HAZ  ของชิ้นงาน  SS  400  และความแข็งใกล้เคียงกับแนวเชื่อม  โดยค่าความแข็งของแนวเชื่อมที่ได้มากที่สุดอยู่ที่  309

Article Details

How to Cite
ภูเภา ส., & เปลี่ยนดิษฐ อ. (2018). อิทธิพลของกระแสไฟเชื่อมในการเชื่อมมิกต่อสมบัติรอยต่อ ระหว่างเหล็กกล้าคาร์บอนเกรด SS 400 กับเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 430. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 2(1), 18–25. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/246480
บท
บทความวิจัย

References

จงกล ศรีธร. (2558). ผลกระทบของกระบวนการเชื่อมต่อสมบัติทางกลของการเชื่อมพอก ผิวแข็งเหล็กกล้าคาร์บอนด้วยทังสเตนคาร์ไบด์หลอมเหลว สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ดํารงค์มิตร เหียนขุนทด , สุริยา ประสมทอง , สุวัฒ ภูเภา เจษฎา แก้ววิชิตร และกิตติพงษ์ กิมะพงศ์ อิทธิพลกระแสเชื่อมอาร์กโลหะแก๊สคลุมต่อความแข็งแรงกระแทกเหล็กกล้า JIS SKD 11. (ม.ป.ป.) การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 10. https://esd.kps.ku.ac.th/kuk-conference/img/gallery/article_10/pdf/o_eng37.pdf : หน้า 1530 – 1538

ยงยุทธ ดุลยกุล, นภิสพร มีมงคล และประภาส เหมืองจันทร์บุรี. (2551). การศึกษาโครงสร้างทางโลหะวิทยาและสมบัติทางกลของการเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนด้วยกระแสเชื่อมและส่วนผสมของแก๊สคลุมที่แตกต่างกัน โดยกรรมวิธีการเชื่อมแม๊ก. งานประชุมวิชาการ IE NATEWORK 2007 ครั้งที่ 6 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 8-9 พฤษภาคม 2551. หน้า 89.

Branes, T.A. and Pashyby, I.R. (2002). Joining Techniques for Aluminum Spaceframes used in Automobiles Part I-Solid and Liquid Phase Welding. J. Materials Processing Technology. 99 (20), pp 62-71.

Brandon, D. and Kaplan, W.D. (1997). Joining Processes : An introduction. New York: John Wiley&Sons.