การสร้างและหาประสิทธิผลของชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการเสริมสร้างความสามารถด้านการนิเทศ สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Main Article Content

กานตยุทธ ตรีบุญนิธิ
วิทฤทธิ์ โคตรมณี

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อสร้างชุดฝึกอบรมออนไลน์  เรื่องการเสริมสร้างความสามารถด้านการนิเทศ  สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 2) เพื่อหาค่าดัชนี  ประสิทธิผล ของชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการเสริมสร้างความสามารถด้านการนิเทศและ 3)  เพื่อหาค่าความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการเสริมสร้างความสามารถด้านการนิเทศกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาคณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม ชั้นปีที่ 4  ที่กำลังจะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจำนวน  52  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)  ชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการเสริมสร้างความสามารถด้านการนิเทศ 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรมที่ผ่านการหาคุณภาพแล้วจำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการเสริมสร้างความสามารถด้านการนิเทศ ผลการวิจัยพบว่า 1)  ชุดฝึกอบรมออนไลน์  เรื่อง การเสริมสร้างความสามารถด้านการนิเทศสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ  มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก     (gif.latex?\bar{x} = 4.73, S.D. =  0.42)  2)  ดัชนีประสิทธิผล การเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.81 หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 81 และ  3)  สำหรับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดฝึกอบรมออนไลน์เรื่องการเสริมสร้างความสามารถด้านการนิเทศพบว่านักศึกษา มีความพึงพอใจเฉลี่ยทุกด้านในระดับ มากที่สุด  (gif.latex?\bar{x} =  4.73, S.D. = 0.46)

Article Details

How to Cite
ตรีบุญนิธิ ก., & โคตรมณี ว. (2022). การสร้างและหาประสิทธิผลของชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการเสริมสร้างความสามารถด้านการนิเทศ สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 6(1), 90–96. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/256961
บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ สืบสม และนพรัตน์ หมีพลัด. (2560). การเตรียมความพร้อมด้านทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และ เทคโนโลยีสู่ความเป็นอาเซียน ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน, 11(1), 26-38.

กานตยุทธ ตรีบุญนิธิ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ 6(2), 238-247.

นิรันดร กากแก้ว. (2563). การนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการสอนของ ครู กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น: สำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น.

นำชัย หอมแก่นจัน. (2564). ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา ส33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.mwk.ac.th./

พรชัย เจดามาน. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการสู่การเปลี่ยนผ่านศตวรรษที่ 21: ไทยแลนด์ 4.0. วารสารหลักสูตรและการเรียนการสอนคณะครุศาสตร์, 2(1), 14-24.

รุ่ง แก้วแดง. (2550). ประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. 2550. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ป ฉบับที่่ 2 (พ.ศ.2551-2565).

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนาอาจารย์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 50-64.

อัญญาพร สุคนธพันธ์. (2559). ผลของการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการประยุกต์ความรู้ชีววิทยาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Oliva, P. F., & Pawlas, G. E. (2008). Supervision for Today’s Schools (8th ed). Hoboken: Wiley.

Wagner, T. (2008, October). Even Our “Best” Schools Are Failing to Prepare Students for 21st-Century Careers and Citizenship. Educational Leadership, 66, (2), pp. 20-25.