การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดสาธิตฝึกปฏิบัติยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับนักศึกษาสาขาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดสาธิตฝึกปฏิบัติยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการพัฒนาทักษะจากการจำลองปัญหาและการตรวจเช็คระบบต่าง ๆ ของยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับนักศึกษาสาขาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การดำเนินการสร้างชุดสาธิตฝึกปฏิบัติมีขั้นตอนดังนี้ คือ 1) ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรและลักษณะรายวิชายานยนต์สมัยใหม่ 2) สร้างเนื้อหาและสื่อด้านยานยนต์ไฟฟ้า แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ใบปฏิบัติงาน รวมถึงเอกสารประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน 3) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องของด้านสื่อชุดสาธิต ด้านเนื้อหาแบบทดสอบ ใบปฏิบัติงาน และเอกสารประเมินความพึงพอใจ พร้อมทำการปรับปรุงแก้ใขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ 4) นำชุดสาธิตฝึกปฏิบัติยานยนต์ไฟฟ้าไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาครุศาสตร์เครื่องกล ชั้นปีที่ 3 จำนวน 15 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ปีการศึกษา 1/2564 และ 5) หาประสิทธิภาพชุดสาธิตฝึกปฏิบัติยานยนต์ไฟฟ้าโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ชุดสาธิตฝึกปฏิบัติยานยนต์ไฟฟ้า และสื่อประกอบการสอนมีค่าประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ E1/E2 เท่ากับ 70.89/87.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 70/80 2) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดสาธิตฝึกปฏิบัติยานยนต์ไฟฟ้า พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ที่ตั้ง 90 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 034 242 856 , โทรสาร 034 242 858 ISSN : 3056-9176 (print) ISSN : 2985-2382 (online) |
References
จักรพันธ์ โทสิทธิ์. (2562, กรกฎาคม–ธันวาคม). การพัฒนาชุดจำลองสถานการณ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงรถจักรยานยนต์ Honda รุ่น Click I. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 3, (2), หน้า 61-69.
ฉลองวุฒิ ศรีทองบริบูรณ์. (2563 , มกราคม – มิถุนายน). การพัฒนาชุดฝึกทักษะปฏิบัติ วิชางานเครื่องมือกลเบื้องต้น เรื่องงานตัด งานเจียระไนและงานเจาะ ด้วยกระบวนการสอนรูปแบบ MIAP สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตวิชาชีพ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12, (1), หน้า 281-296.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2551). การสร้างชุดการสอน. ค้นเมื่อ เมษายน 10, 2562, จาก http://inno-sawake.blogspot.com/
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระพล บุญธรรม. (2565 , มกราคม - มิถุนายน). การพัฒนาชุดการสอนวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์รหัสวิชา 20101 – 2009 ด้วยเทคนิคการสอนแบบการฝึกลงมือปฏิบัติงาน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 6, (1), หน้า 104-114.
ประดิษฐ์ เลิศโพธาวัฒนา. (2562 , มกราคม – มิถุนายน). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดสาธิตฝึกปฏิบัติวงจรไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ Honda Wave 110i. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง , 3, (1) , หน้า 49 - 57.
สถานบันยานยนต์. (2555). แผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพฯ : สถาบันยานยนต์ กระทรวงอุตสาหกรรม.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562) แนวทางการนิเทศ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.