ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

Main Article Content

ศักดิ์ชัย จันทะแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค และ 2) ศึกษาสหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างชุดตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์กับชุดตัวความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 210 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำหรับการวิจัยออนไลน์ด้วย Google Form และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการวิจัยพบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการอยู่ในระดับสูง 2) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล พบว่าความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล เท่ากับ 0.632 โดยภาพรวมนั้นชุดตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์สามารถอธิบายร่วมกับชุดตัวแปรความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคได้ร้อยละ 67.60 และ 3) ชุดตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์มีค่าน้ำหนักคาโนนิคอลระหว่าง |0.115| - |0.674| โดยมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านการตระหนักรู้ในตนเองสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดระเบียบอารมณ์ตนเอง ด้านการจูงใจ ด้านการเห็นใจผู้อื่น และด้านทักษะทางสังคม ตามลำดับ และชุดตัวแปรความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคมีค่าน้ำหนัก คาโนนิคอลระหว่าง |0.228| - |0.323| โดยมีความสามารถในการเผชิญและ ฝ่าฟันอุปสรรคด้านการควบคุมสถานการณ์สูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านความอดทน ด้านผลกระทบ และด้านความรับผิดชอบต่อปัญหา ตามลำดับ ดังนั้นองค์กรสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของบุคลากรซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญของพฤติกรรมการให้บริการของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัย

Article Details

How to Cite
จันทะแสง ศ. (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 7(2), 33–46. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/264660
บท
บทความวิจัย

References

นิดา แซ่ตั้ง. (2555). ความฉลาดทางอารมณ์ และความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคที่มีผลต่อการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ภัคสกุล นาคจู. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอารมณ์, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : หจก.ภัคสุภรณ์การพิมพ์.

วศิน ตัณเกยูร และรัชนีวรรณ วนิชย์ถนอม (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ และความพึงพอใจในงานของนักธุรกิจเครือข่ายบริษัทการตลาดเครือข่ายแห่ง หนึ่ง โดยมีพันธสัญญากับเป้าหมายเป็นตัวแปร สื่อ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), หน้า 170 - 185.

ศักดิ์ชัย จันทะแสง. (2559). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่ององค์การของบุคลาการสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(พิเศษ), หน้า130 - 144.

ศักดิ์ชัย จันทะแสง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. 7(2), หน้า 115 - 128.

ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 37(142), หน้า 16 - 32.

สมหญิง จันทรุไทย และเกียรติศักดิ์ อิชยานันท์. (2560). ความฉลาดทางอารมณ์และความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 8(2), หน้า 189 - 198.

สมพร ปานยินดี. (2559). ผลกระทบของความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อความมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและ ความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเนชันวาน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 36(3), หน้า 37 - 68.

สุมามาลย์ ปานคำ และ หทัยชนก หวังวงศ์เจริญ. (2559) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างความฉลาดในการฟันฝ่าอุปสรรคและความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2559, หน้า 1089 - 1099.

สุวิมล ติรกานันท์. (.(2555) การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1998). Research in education (8th ed.). Boston: Allyn & Bacon.

Cheanchana, C. (2015). Using multivariate statistics research: Designing, analyzing, and interpreting. Bangkok: King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. Cooper, D. R., Schindler, P. S., & Sun, J. (2006). Business research methods (9th Ed.). New York : McGraw-hill.

Goleman, D. (1998). Working with Emotional Intellgence. New York: Bantam Books. Hanifa, Y. (2017). Emotional quotient dan adversity quotient dengan kecemasan menghadapi dunia kerja. Psikoborneo: jurnal ilmiah psikologi, 5(1), pp. 25-33.

Kasapi, Z. and Mihiotis, A. (2014). Emotional Intelligence Quotient and Leadership Effectiveness in the Pharmaceutical Industry: A New Template. International Journal of Business Administration, 5(1), pp. 15 - 26.

Marques, J. (2007), "Leadership: emotional intelligence, passion and what else?" Journal of Management Development, 26, (7), pp. 644 - 651.

Miller, J. (2017) The Role of Intentional Reflective Practice and Mindfulness in Emotional Self - Regulation for Library Administrators", Emotion in the Library Workplace Advances in Library Administration and Organization, 2(37), pp. 203 – 229.

Nunnally, J. C. (1978) Psychometric theory (2nd Ed.). New York: McGraw - Hill.

Puspitacandri, A., Soesatyo, Y., Roesminingsih, E., & Susanto, H. (2020). The Effects of Intelligence, Emotional, Spiritual and Adversity Quotient on the Graduates Quality in Surabaya Shipping Polytechnic. European Journal of Educational Research, 9(3), pp. 1075 - 1087.

Rovinelli, R., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion- referenced test item validity. Washington, D.C.: ERIC.

Salovey, P. and J.P. Mayer. (1990). Emotional Intelligence: Imagination, Cognition, and Personality. New York: Harper.

Singh, S., & Sharma, T. (2018, September). Affect of emotional intelligence on adversity quotient of Indian managers. In AIP Conference Proceedings (Vol. 2016, No. 1, p. 020135). AIP Publishing LLC. Stoltz, P.G. (1997). Adversity Quotient: Turning Obstacles into Opportunities. The United States of America: John Wiley & Sons.

Themistocleous, M., Irani, Z. and Love, P. E. D. (2005). Developing E - Government Integrated Infrastructures: A Case Study, Proceedings of the 38th Annual Hawaii International Conference on System Sciences, Big Island, Hawaii, IEEE, 1 - 10.

Wagner, R. K., & Sternberg, R. J. (1985). Practical intelligence in real - world pursuits: The role of tacit knowledge. Journal of Personality and Social Psychology. 49(1), pp. 436 - 458.

Zhao, Y., Sang, B., & Ding, C. (2021). The roles of emotional intelligence and adversity quotient in life satisfaction. Current Psychology, pp. 1 - 10.