การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องลีนออโตเมชั่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระบบการผลิตแบบลีนควบคู่กับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ หรือลีนออโตเมชั่นถูกนำเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต สถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรฝ่ายผลิตของตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานกับระบบการผลิตแบบลีนออโตเมชั่น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องลีนออโตเมชั่น โดยกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยได้แก่ พนักงานฝ่ายผลิตในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดฝึกอบรม แบบทดสอบ แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าชุดฝึกอบรมที่พัฒนามีส่วนประกอบได้แก่ เนื้อหา สื่อการสอน แบบฝึกหัด แบบทดสอบ ใบงานและแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน แผนการฝึกอบรม โดยมีหัวข้อในการฝึกอบรม 4 หัวข้อคือ 1) โครงสร้างระบบการผลิตแบบลีนออโตเมชั่น 2) การผลิตแบบลีนออโตเมชั่น 3) การใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม และ 4) การควบคุมการปฏิบัติงานให้เห็นได้ด้วยสายตาด้านผลการนำชุดฝึกอบรมไปใช้พบว่า ชุดฝึกอบรมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.40 / 81.28 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80 / 80 ผลคะแนนการทดสอบหลังฝึกอบรมของผู้เข้าฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ที่ตั้ง 90 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 034 242 856 , โทรสาร 034 242 858 ISSN : 3056-9176 (print) ISSN : 2985-2382 (online) |
References
กฤชชัย อนรรฆมณี. (2563). การใช้เทคโนโลยีและ Lean Automation. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 4, 2566, จาก https://www.ftpi.or.th/2020/35950
กีรติกร บุญส่ง และหทัยกานต์ กุลวชิราวรรณ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานปฏิบัติการระดับ 4 กลุ่มวิชาชีพหลัก กลุ่มวิชาชีพสนับสนุนในการขับเคลื่อนองค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง (HPO). วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10, (3), หน้า 125 - 137.
จิรศักดิ์ เยาว์วัชสกุล, ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร และนันทิชาหาสุนทรี. (2561). ความพร้อมในการนำระบบการผลิตแบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10, (3), หน้า 207 - 220.
เจษฎา บุญมาโฮม. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการผลิตชุดการเรียนรู้ของครูวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12, (2), หน้า 159 - 189.
ณภัทร โฆษิตวัชระนันท์. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อการจัดการเปลี่ยนแปลงสำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (ม.ป.ป.). depa ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลช่วย Startup ยกระดับมาตรฐาน Product & Service. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 4, 2566, จาก https://smeone.info/public/index.php/posts/view/5054?tag=4Lia4Lij4Li04LiB4Liy4Lij
ธัญญลักษณ์ วีระสมบัติ. (2562). การใช้ระบบอัตโนมัติและทักษะแรงงานที่จำเป็นสำหรับซัพพลายเออร์ไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 27, (2), หน้า 1 - 26.
นิพนธ์ ศุขปรีดี. (2552). ประมวลสาระชุดวิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปรมะ แก้วพวง. (2563). การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูมัธยมศึกษา โรงเรียนในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารชุมชน วิจัย, 14, (4), หน้า 76 - 89.
ฝ่ายวิจัยนโยบาย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). รายงานการศึกษา เรื่อง “อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของประเทศไทย”. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 6, 2566, จาก https://waa.inter.nstda.or.th/prs/pub/Robot-Whitepaper-Cover.pdf
วรรณี อึ้งสิทธิพูนพร. (2558). ความพึงพอใจในการฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของครูภาษาอังกฤษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. Veridian E - Journal, Silpakorn University, 8, (3), หน้า 1023 - 1036.
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 1. (2562). กน.กสอ. และ ศภ.1 กสอ. เสริมแกร่ง sme ภาคเหนือด้วย lean automation. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 4, 2566, จาก https://ipc1.dip.go.th/th/category/activity/2019-08-19-08-52-51
เสาวภา ปัญจอริยะกุล. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 6, 2566, จาก http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2001