การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะการสอนภาคปฏิบัติและการฝึกงานในสถานประกอบการตามแนวทางสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน

Main Article Content

ดุสิต ขาวเหลือง
แดน ทองอินทร์
มานพ แจ่มกระจ่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาหลักสูตรและเพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรม ซึ่งแบ่งวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และระยะที่ 3 การทดลองและประเมินหลักสูตรฝึกอบรมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหารหรือผู้แทนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ครูฝึกในสถานประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวนรวม 353 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองนำร่อง คือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ครูฝึกซึ่งทำงานอยู่ในสถานประกอบการ จำนวน 20 คน และ 3) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินหลักสูตร คือ ผู้บริหารหรือผู้แทนหรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ครูฝึก จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามปัญหาและความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมครูฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะการสอนและการฝึกงานในสถานประกอบการตามแนวทางสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน หลักสูตรฝึกอบรมครูฝึกโดยใช้การวิจัย และพัฒนาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร และการปรับปรุงหลักสูตร แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้จากการฝึกอบรม แบบประเมิน การสอนภาคปฏิบัติและการฝึกงานในสถานประกอบการ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการฝึกอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม (E1/E2) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยอาศัยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า


1. ผลการศึกษาปัญหาและและวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม


1.1 สภาพปัญหาการสอนปฏิบัติของครูฝึกในสถานประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในภาพรวมทั้งหมดมีปัญหาอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.69, SD =0.38)


1.2 ความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมของครูฝึกในสถานประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในภาพรวมทั้งหมดมีความต้องการอยู่ใน ระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.86, SD =0.36)


2. ได้หลักสูตรฝึกอบรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมสอดคล้องเชิงโครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ปรากฏว่า มีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.47, SD =0.50)


3. ผลการทดลองและประเมินหลักสูตรฝึกอบรม


3.1 ผลการทดลองศึกษานำร่องหลักสูตรฝึก อบรมด้วยการหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 77.50/75.50 และประเมินการเรียนรู้จาก การฝึกอบรม ปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ การเรียนรู้จากการฝึกอบรมหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


3.2 ผลการประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมด้วยการหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80.50/80.83 และประเมินการเรียนรู้จากการฝึกอบรม ปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้จาก การฝึกอบรมหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


3.3 ผลการประเมินทักษะการสอนภาคปฏิบัติด้านทักษะ การเขียนแผนการฝึกอาชีพ พบว่า สาขาวิชา ช่างยนต์ เครื่องกลและช่างไฟฟ้า มีทักษะอยู่ในระดับเชี่ยวชาญ ส่วนด้านทักษะการสอนงานของสาขาวิชา ช่างยนต์ เครื่องกล ช่างไฟฟ้า และช่างเชื่อม มีทักษะอยู่ในระดับเชี่ยวชาญ


3.4 ผลการประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมพบว่าในภาพรวมทั้งหมด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x&space;} = 4.41, SD =0.28).

Article Details

How to Cite
ขาวเหลือง ด., ทองอินทร์ แ., & แจ่มกระจ่าง ม. (2024). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะการสอนภาคปฏิบัติและการฝึกงานในสถานประกอบการตามแนวทางสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 8(1), 71–84. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IVECJournal/article/view/274104
บท
บทความวิจัย

References

กรกนก วรหา, นิรุต ถึงนาค, และ ชมพูนุท เมฆเมืองทอง. (2565, มกราคม–มิถุนายน). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสาน เพื่อเตรียมพร้อมสู่อาชีพช่างเชื่อม สำหรับนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม. มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 11, (1), หน้า 155-173.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

ชาญณรงค์ ศรีจันทร์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรสำหรับครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการประดิษฐ์ดอกไม้ใบตองเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พงศ์ศักดิ์ กีรติวินทกร, ชารินทร์ จูฉิม, ธีราทร ซนีเย็ง และ รณชัย เพชรรักษ์. (2560, เมษายน-มิถุนายน). การพัฒนาแรงงานฝีมือด้วยการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการตามแนวทางมาตรฐานเยอรมัน. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 29, (102), หน้า 3-11.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย โพธิวัฒน์ และ รวีวรรณ ชินะตระกูล. (2558, พฤษภาคม-สิงหาคม). การศึกษาความต้องการจำเป็นการสอนงานของหัวหน้างานในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14, (2), หน้า 260-267.

สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการสะท้อนคิดของนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุทธิกร แก้วทอง. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

โอภาส สุขหวาน, ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, ธนรัตน์ แต้วัฒนา, และ วิไลลักษณ์ ลังกา. (2561, มกราคม–มิถุนายน). การพัฒนารูปแบบการสอนงานนักศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีประเภทวิชาอุตสาหกรรมสำหรับครูฝึกในสถานประกอบการ. วิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 13, (1), หน้า 1-13.

Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt, Brace & Wor