ปัจจัยการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2) ปัจจัยการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ3) เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล งานวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 200 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 19 ปี คะแนนเฉลี่ยสะสม 3.51 – 4.00 โดยสาขาวิชาที่เลือกศึกษา คือ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัว 10,001 – 15,000 บาท และพักอาศัยอยู่หอพัก / คอนโดมิเนียม 2) นักศึกษาให้ความสำคัญต่อปัจจัยการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านครูผู้สอน รองลงมาคือ ด้านภาพลักษณ์ของคณะและน้อยที่สุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมสิ่งอำนวยความสะดวก และ 3) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ อายุ คะแนนเฉลี่ยสะสม และรายได้เฉลี่ยของครอบครัว ไม่มีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้น สาขาวิชาที่ศึกษา และที่พักอาศัยของนักศึกษา มีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ที่ตั้ง 90 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 034 242 856 , โทรสาร 034 242 858 ISSN : 3056-9176 (print) ISSN : 2985-2382 (online) |
References
จันทะพอน ไชยะสอน, รสวลีย์ อักษรวงศ์, และ รัตนะปัญญภา. (2566, มกราคม-มิถุนายน). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีชั้นสูงของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิควิชาชีพจําปาสัก. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 12, (1), หน้า 25-35.
จุฑาภรณ์ ยอดเสนีย์. (2663). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีปีการศึกษา 2563. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จุไรรัตน์ ศิริมั่งมูล, นุชนาถ พันธุราษฎร์, และ ณัฐฌา ขำศิริ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเภทโควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2562. ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5 (1-2 พฤศจิกายน หน้า 945-953). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฉัตรเพ็ชร ชมใจ. (2561). ปัจจัยในการเลือกเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ). วิทยานิพนธ์ ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ชูเกียรติ วรรณสอน. (2553). การเลือกเรียนวิชาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐกิตติ์ เฮงตระกูล, เฉลิมชัย คาแสน, ธัญพร ฟุ้งเฟื่อง, และ ศุภนิดา เรืองศิริ. (2566, มกราคม-เมษายน). พฤติกรรมการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8, (1), หน้า 93-122.
ณัฐสุดา พิพุฒิไกร. (2551). แรงรูงใจในการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาคหกรรมของนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือลาดกระบัง.
ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดรศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปฐมา อาแว และ นิยาวาเฮร์ ไพบูลย์. (2562). การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2562. วิชาการ ปขมท, 9, (2), หน้า 22-32.
พลอยวรินทร์ แสงสมบุญ, ปารย์กัญจน์ วิจิตรสงวน,พาริดา พรหมบุตร, วัลภา จันดาเบ้า, และซ๊อส อักษรกิตต. (2563, กันยายน-ธันวาคม) การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมการบริการการบิน คณะศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรีภายใต้การศึกษาที่มุ่งเน้นการสอบ ประจำปีการศึกษา 2563. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 14, (3), หน้า 16-29.
เพ็ญจันทร์ สินธุเขต. (2560). การศึกษายุคนี้ (ยุคดิจิทัล) : Thailand 4.0. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ครั้งที่ 3 (24 กรกฎาคม หน้า 98-108). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
วสินี ไขว้พันธุ์ และ สมปรารถ ขำเมือง. (2564, เมษายน-มิถุนายน). แรงจูงใจที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ. ครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49, (2), หน้า 1-15.
วัชรีญา บุญมา. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยของนักศึกษาชาวจีน. วิทยานิพนธ์ ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
ศรีสุนันท์ สุขถาวร และ กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน. (2564, สิงหาคม). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีคณะการบริหาและจัดการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรณีศึกษานักเรียน Admission รับตรงปีการศึกษา 2561. วิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7, (2), หน้า 199-215.
ศศิธร บูรณ์เจริญ. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโทของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 4, (2), หน้า 136-159.
สายม่าน เปลี่ยนเหล็ก. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเครื่องกลและซ่อมบำรุงในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 และ ภาคเหนือ 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566–2570. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 18, 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf
สิพิมวดี สูทกวาทิน, วราภรณ์ เต็มแก้ว, และ อภิรดา นามแสง. (2565, กรกฎาคม-กันยายน). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรมหาบัณฑิตด้านการบิน. วิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 19, (1), หน้า 117-134.
สุชาวดี กิ่งทอง และ เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ. (2559, กรกฎาคม-ธันวาคม). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทของนิสิตระดับปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 5, (2), หน้า 90-117.
สุไบซะ จำนงลักษณ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เสรี สิงห์โงน และ สาลินี จันทร์เจริญ. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็กวัยรุ่นและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 5, (2), หน้า 95-108.
อมร โททำ และ กชวรา ศาลารมย์. (2566, พฤษภาคม-มิถุนายน). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3, (3), หน้า 1-16.
เอกชัย เทียนเงิน, นพดล อำนวยพรเลิศ, และกนกวรรธน์ เซี่ยงเจ็น. (2565, กันยายน-ธันวาคม). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับอุดมศึกษา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4, (3), หน้า 524-533.
ไฮดา สุดินปรีดา, พูนพิศ ธิตินันทน์, และ บงกช กมลเปรม. (2565, เมษายน-มิถุนายน). เจตคติและปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี (หลักสูตรต่อเนื่อง) ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและเทียบเท่าในจังหวัดนราธิวาส. วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17, (60), หน้า 56-61.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, (3), pp. 607-610.