การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่องานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและพัฒนาแนวทางการส่งเสริมงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและปัจจัยที่ส่งผล ต่องานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่น 0.94 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการส่งเสริมงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 9 คน ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา 2 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 3 คน ครู 2 คน และนักวิชาการ 2 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.21, S.D. = 0.29) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่องานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.28, S.D. = 0.24) และปัจจัยที่ส่งผลต่องานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X1) การติดต่อสื่อสาร (X3) โครงสร้างองค์การ (X5) ทรัพยากรทางการศึกษา (X2) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z'y = 0.547Z1* + 0.456Z3*+ 0.204Z5*+ 0.121Z2* และ 2) ผลการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา QA byPDCA + LCSR มีจำนวน 48 แนวทาง จำแนกเป็น (1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 6 แนวทาง (2) จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 9 แนวทาง (3) ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา 8 แนวทาง (4) ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 7 แนวทาง (5) ติดตามผลการนำผลการประเมินมาปรับปรุง 7 แนวทาง (6) จัดทำรายงานประกันคุณภาพการศึกษาประจำปี 5 แนวทาง (7) พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 6 แนวทาง โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็น ด้านความ ถูกต้องในภาพรวม มีความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.86, S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่า เฉลี่ยระหว่าง คือ 4.67 – 5.00 ด้านความเหมาะสมในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.86, S.D. = 0.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.72 – 4.89 ด้านความเป็นไปได้ในภาพรวม มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.88, S.D. = 0.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.67 – 5.00 และด้านความเป็นประโยชน์ในภาพรวม มีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.85, S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยระหว่าง คือ 4.72 – 4.94
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร การอาชีวศึกษาภาคกลาง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการอาชีวศึกษาภาคกลางหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ที่ตั้ง 90 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 034 242 856 , โทรสาร 034 242 858 ISSN : 3056-9176 (print) ISSN : 2985-2382 (online) |
References
กฤษฎา การีชุม. (2554). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
โชคชัย พรหมมาก. (2561). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 6. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (2553). ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร. กรุงเทพฯ: สวนจิตรลดา.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Keeves, P. L. (1988). Model and Model Building Education Research Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford: Pergamon.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Journal of Education and Psychoogical Measurement, 30, (3), pp. 607-610.
Madaus, G. F., Scriven, M., & Stufflebeam, D. L. (1983). Evaluation Models: Viewpoints on Educational and Human Services Evaluation. Netherlands: Springer.
Murgatroyd, S. J., & Morgan, C. (1993). Total Quality Management and the School. Maidenhead, Berkshire: Open University Press.
Ossiannilsson, E. & Landgren, L. (2011). Quality in e-learning – a conceptual framework based on experiences from three international benchmarking projects. Journal of Computer Assisted Learning (2012), 28, pp. 42–51.