ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ มั่นรักคง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • บรรจบ บุญจันทร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

คำสำคัญ:

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ปัจจัยด้านผู้บริหาร, ปัจจัยด้านครู, ปัจจัยด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, ปัจจัยด้านคณะทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ใช้วิธีการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และด้านความสำเร็จของการดำเนินการ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านครูที่ปรึกษา 3) ปัจจัยด้านคณะทำงาน ด้านครู ด้านการสนับสนุนจากหน่วยงาน และด้านผู้บริหาร มีอิทธิผลร่วมกันต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ ด้านครู รองลงมา คือ ด้านการสนับสนุนจากหน่วยงาน ด้านคณะทำงาน และด้านผู้บริหาร ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างปัจจัยเหล่านี้กับประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 เป็น .791 และปัจจัยเหล่านี้สามารถอธิบายความแปรปรวนประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ได้ร้อยละ 62.6

References

ขวัญชนก เอียดด้วง, อรุณ จุติผล และวันฉัตร ทิพย์มาศ. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

นฤมล กอบแก้ว. (2562). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38(5) : 162 – 181.

ปิยวัช สีกันหา, ในตะวัน กำหอม และสมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2565). ประสิทธิภาพการบริหารงานที่ส่งผลต่องานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของบุคลากรโรงเรียนวัดศรีราษฎร์ (เอนกนาครราษฎร์บำรุง) อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการรัตนบุศย์. 4(1) : 22-35.

พงศ์เทพ กันยะมี, วจี ปัญญาใส และสุมิตรา โรจนนิติ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

มยุรี สารีบุตร และอุทัย ภิรมย์รื่น. (2560). ปัจจัยความสำเร็จของการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีผลต่อคุณภาพนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). คู่มือการคัดเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2565. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.

Sandars. (2014). Developmental student support in undergraduate medical education. Published Online. 36(32) : 1015-1026.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29