จริยธรรมการพิมพ์

จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการในวารสาร (Publication Ethics)

จริยธรรมของผู้นิพนธ์

          1. ผู้นิพนธ์จะต้องไม่ส่งบทความที่อยู่ในระหว่างการพิจาณาจากที่อื่น หรือต้องไม่เป็นบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอื่น
          2. ผู้นิพนธ์จะต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) หรือคัดลอกผลงานของตนเองในบทความ (Self-Plagiarism)
          3. ผู้นิพนธ์จะจัดรูปแบบบทความให้เป็นไปตาม “คำแนะนำในการส่งผลงานเพื่อลงตีพิมพ์”
          4. ผู้นิพนธ์จะต้องไม่รายงานผลวิจัยคลาดเคลื่อนหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จจากความเป็นจริงที่ได้จากการศึกษา และรับผิดชอบต่อความคิดเห็นหรือข้อสรุปในบทความที่ได้รับอนุมัติตีพิมพ์
          5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อในบทความทุกคน จะต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยโดยแท้จริง และรับรู้ถึงการจัดส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้
          6. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานตัวเอง และต้องจัดทำอ้างอิง ท้ายบทความ
          7. หากมีการศึกษาวิจัย และทำการทดลองในคนหรือสัตว์ทดลอง จะต้องมีการแนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง
          8. หากผู้นิพนธ์ได้รับทุนสนับสนุนในการทำวิจัย ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัยครั้งนี้
          9. ผู้นิพินธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
          10. ผู้นิพนธ์ต้องดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง บทความตามการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งกลับมายังกองบรรณาธิการ วารสารตามเวลาที่กำหนด หากไม่ดำเนินการตามคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิและตามเวลาที่กำหนด ทางวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่ตอบรับบทความไม่ตอบรับตีพิมพ์บทความวารสารของท่าน และไม่ขอคืนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

จริยธรรมของบรรณาธิการวารสาร

           1. บรรณาธิการต้องมีจริยธรรมในการพิจารณาบทความโดยจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผู้นิพนธ์ และพิจารณาตามหลักทางวิชาการโดยไม่ใช้อคติในการพิจารณาบทความ
           2. บรรณาธิการต้องตรวจสอบความซ้ำซ้อนของบทความ โดยใช้เครื่องมือที่เชื่อถือได้เพื่อป้องกันการคัดลอกผลงานผู้อื่นเพื่อนำมาตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้
           3. บรรณาธิการต้องเลือกผู้ประเมินให้มีความเชี่ยวชาญตรงกับบทความนั้น ๆ
           4. บรรณาธิการต้องกำกับ ติดตาม ดูแล และประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามรูปแบบและวัตถุประสงค์ของวารสาร
           5. บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความที่อยู่ในระหว่างการประเมินบทความ
           6. หากตรวจสอบพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการจะต้องแจ้งหยุดกระบวนการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์ทันทีเพื่อขอคำชี้แจงประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น
           7. บรรณาธิการควรพิจารณาคุณภาพบทความเบื้องต้นเพื่อเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร โดยให้มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง ผลงานน่าเชื่อถือ และต้องรักษามาตรฐาน รวมถึงการพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพ ทันสมัยออยู่เสมอ

จรรยาบรรณของผู้ประเมินบทความ

           1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ได้ต้องดำเนินการประเมิน
           2. เมื่อผู้นิพนธ์ได้รับบทความเพื่อประเมินควรตรวจสอบบทความเบื้องต้น หากพบการมีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
          3. ผู้ประเมินควรมีความเชี่ยวชาญในบทความที่ได้รับให้ประเมิน โดยพิจารณาตามระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องจนกระทั่งนำมาสู่การเขียนในรูปแบบบทความวิจัย หรือบทความวิชาการ ผู้ประเมินควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบ หากพบส่วนใดของบทความมีการซ้ำซ้อนหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น
          4. ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีผลต่อสาขาวิชานั้น ๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย และคำนึงถึงกรอบระยะเวลาในการประเมินอย่างเหมาะสม
          5. ผู้ประเมินต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน