ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดีที่มีต่อความสุขที่แท้จริงของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
คำสำคัญ:
โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคล, การมองโลกในแง่ดี, ความสุขที่แท้จริงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดีที่มีต่อความสุขที่แท้จริงของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ดูแลที่เป็นญาติและให้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ที่มารับบริการเป็นระยะเวลา 2 เดือน จำนวนทั้งสิ้น 30 คน โดยคัดเลือกจากผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีคะแนนการมองโลกในแง่ดีและคะแนนความสุขที่แท้จริงตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 55 ลงมา จำนวน 16 คน และแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คนโดยที่กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดีที่มีต่อความสุขที่แท้จริง ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดีที่มีต่อความสุขที่แท้จริงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบวัดการมองโลกในแง่ดี 2) แบบวัดความสุขที่แท้จริง 3)โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดีที่มีต่อความสุขที่แท้จริง (Program Optimism – Authentic Happiness) สถิติที่นำมาวิเคราะห์ทดสอบเป็นแบบไม่อิงพารามิเตอร์ (Non – parametric Statistic)
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดีที่มีต่อความสุขที่แท้จริงของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีการมองโลกในแง่ดีสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดีที่มีต่อความสุขที่แท้จริงของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความสุขที่แท้จริงสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การเปรียบเทียบกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดีที่มีต่อความสุขที่แท้จริงของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังก่อนและหลังการทดลอง พบว่าหลังการทดลองมีการมองโลกในแง่ดีสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การเปรียบเทียบกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดีที่มีต่อความสุขที่แท้จริงของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังก่อนและหลังการทดลอง พบว่าหลังการทดลองมีความสุขที่แท้จริงสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
ชัยวัฒน์ เดชพิทักษ์. (2555). ผลการให้การปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อการมองโลกในแง่ดีเพื่อการปรับตัวทางสังคมของเยาวชนที่ถูกคุมประพฤติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชูชื่น ชีวพูนผล.(2541). อิทธิพลของภาวะสุขภาพของผู้ป่วยความเข้มแข็งในการมองโลกของญาติผู้ดูแล และความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลต่อการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, บัณฑิตวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาสภิกขุ. (2548). หนังสือทั่วไป. ธรรมสภา หน้า 384.
ภูตะวัน คทวณิช . (2550). ผลของการให้การปรึกษาโดยใช้ทฤษฎีของ Rogers ต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก = Effects of rogers' counseling theory on self-esteem and abilities to perform daily activities of hemiplegic patients. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วราภรณ์ ผาทอง. (2549). ผลของโปรแกรมพัฒนาการมองโลกในแง่ดีต่อความสุขในชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรวี เดือนดาว. (2547). ความต้องการด้านสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายการศึกษาเชิงปรากฎการณ์วิทยา. Digital Research Information Center.
วรางคณา รัชตะวรรณ. (2554). การศึกษาและพัฒนาการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา.
Abernethy, Burns, Wheeler, & Currow; Pierce & Lutz. (2009). Defining distinct caregiver subpopulations by intensity of end – of – life care provided. National Center for Biotechnology Information, U.S. National Library of Medicine: 66 – 79.
Eliana, Sarah, C. Cybele Raver. (2019). Beyond Income Expanding our Empirical Toolkit to Better Predict Caregiver Well – Being. Journal of Child and Family Studies.
Funk et al, Yoo, Lee, & Chang. (2010). The influence of service quality on satisfaction and intention A gender segmentation strategy. Kyung Hee University, Republic of Korea Keimyung University, South Korea, University of Florida USA.
Jianjun Deng. (2019). Optimistically Accepting Suffering Boosts Happiness: Associations Between Buddhism Patience, Selflessness, and Subjective Authentic – Durable Happiness. Journal of Happiness Studies.
Lawang, W. (2013). Developing support for Thai family caregivers of adults with a physical disability A community – based action research study Doctoral dissertation. Melbourne La Trobe University: 534 – 545.
Pablo Ruisoto, Israel Contador. (2018). Use of Portable Digital Devices to Analyze Autonomic Stress Response in Psychology Objective Structured Clinical Examination. Emergent Visualization Systems in Biomedical Sciences.
Pierce, L., & Lutz, B. (2009). Family caregiving. In P. Larse (Ed), Cbronic illness impact and intervention (7th ed., pp. 191-229). Boston: Jones and Bartlett Publishers.
Seligman, M. E P, Steen, T., Park, N., & Peterson, C. (2005). Positive psychology progress: Empirical validation of interventions. American Psychologist, 60, 410 – 421.
Seligman, M.E.P. (1982). THE HALF-ALIVE ONES. Journal of Analytical Psychology, 27, 1-20.
Seligman, M.E.P. (1990). Learned optimism. New York: Knopf.
Seligman, M.E.P. (2002). Authentic happiness: using the new positive psychology to realize your potential for lasting fulfillment. New York: Free Press.