ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือที่มีต่อความสามัคคี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ฐิรภัทร อภิชิตตระกูล คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พิมพา ม่วงศิริธรรม ณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือ, ความสามัคคี, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือที่มีต่อความสามัคคีและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ คัดเลือกตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 2 ห้องเรียน กลุ่มทดลองจำนวน 82 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือ และกลุ่มควบคุมจำนวน 78 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมความสามัคคี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมความสามัคคี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Author Biographies

ฐิรภัทร อภิชิตตระกูล, คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นักศึกษปริญญาโท สาขาการจัดการเรียนรู้พลศึกษา 

กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน, คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พิมพา ม่วงศิริธรรม, ณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาจารย์ ดร. คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

References

กนกวลี เอ่งฉ้วน. (2529). การสร้างแบบทดสอบวัดบุคลิกภาพความมีน้ำใจนักกีฬา. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.

จุรีภรณ์ มะเลโลหิต. (2558). ผลของการเรียนแบบร่วมมือที่ใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อผลการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(2).

ชัยยุทธ ธนทรัพย์วีรชา. (2554). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. รายงานผลการวิจัย. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎส่วนสุนันทา.

ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ; นิชินแอดเวอร์ไทซิ่ง กรู๊ฟ.

บัญญัติ ชำนาญกิจ. (2553). 25 เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(12), 1 – 6.

บุญสม โพธิ์เงิน. (2537). คุณธรรมในการอยู่ร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาจิตวิทยาการแนะแนว.

ประยุทธ สุวรรณโกตา. (2530). คุณธรรมและจริยธรรมวัยประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พระมหาอุดม สารเมธี. (2550). ความสามัคคีนั้นสำคัญนัก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ระฆังทอง.

มลฤดี จีระสันติกุล. (2549). คู่มือพัฒนาความสามัคคีของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, จิตวิทยาการแนะแนว.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีการสอนและการวัดเพื่อประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ. โปสเตอร์

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานการวิจัยประเมินผลคุณธรรม 8 ประการของผู้เรียน : เจตคติและพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท เพลิน สตูดิโอ จำกัด.

สืบสาย บุญวีรบุตร. (2541). จิตวิทยาการกีฬา. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สุภกิจ วิริยะกิจ. (2554). ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือที่มีต่อความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา.

สุวิทย์ บึงบัว. (2553). การเปรียบเทียบประสิทธิผลการเรียนผ่านเว็บโดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือระดับสูงและการเรียนร่วมมือแบบระดับต่ำของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.

อดิศักดิ์ ดวงศรี. (2553). การจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมฟุตบอลตามแนวคิดของคาร์รอลเพื่อพัฒนาความสามัคคีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2550). คุณธรรมนำความรู้ : รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

Anowar Hossain; & Muhammad Rezal Kamel Ariffin. (2017). Integration of Structured Cooperative in Mathematics Classrooms. International Journal of Psycholygy and Education Studies, 2018, 5(1); 23 – 29.

Gokhan Bayraktar. (2011). The effect of Cooperative Learning on Students Approach to General Gymnastics Course and Academic Achievements. Education Research and Reviews. 6(1); 62 – 71.

Skolnick, S.J. (1981). The Effects of Physical Activities on Academic Achievement in

Elementary School Children. Dissertation Abstracts International 42.

Norah Mashouj Alshammari. (2015). Effects of Cooperative learning on Academic Performance of College Students in Saudiarabia. Department of Curriculum and instruction State University of New York at Fredonia, Fredonia; New York.

Van Dat Tran. (2014). The Effects of Cooperative Learning on the Academic Achievement and Knowledge Retention. International Journal of Higher Eduction, 3(2).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-08