ผลของการฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายและการเล่นอย่างสร้างสรรค์ที่มีต่อความแม่นยำในการขว้างบอลของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ธีรพงศ์ เจริญนาค คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พิมพา ม่วงศิริธรรม คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภาณุ กุศลวงศ์ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การเคลื่อนไหวร่างกาย, การเล่นอย่างสร้างสรรค์, ความแม่นยำในการขว้างบอล, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายและการเล่นอย่างสร้างสรรค์ที่มีต่อความแม่นยำในการขว้างบอลของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษา ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนแห่งหนึ่ง จำนวน 60 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายและการเล่นอย่างสร้างสรรค์ และกลุ่มควบคุมที่ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย กิจกรรม การเคลื่อนไหวร่างกายและการเล่นอย่างสร้างสรรค์ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 แบบทดสอบวัด ความแม่นยำในการขว้างบอลของเด็กปฐมวัย และแบบทดสอบวัดทักษะการยืน การเดิน การวิ่ง และการกระโดดของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .76 และ .73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 10 กลุ่มทดลองมีความแม่นยำในการขว้างบอลและมีทักษะการยืน การเดิน การวิ่ง และการกระโดด หลังการฝึกดีกว่าก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) กลุ่มควบคุมมีความแม่นยำในการขว้างบอลและมีทักษะการยืน การเดิน การวิ่ง และการกระโดด หลังการฝึกดีกว่าก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) กลุ่มทดลองมีความแม่นยำในการขว้างบอลและมีทักษะการยืน การเดิน การวิ่ง และการกระโดด ดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) การฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายและการเล่นอย่างสร้างสรรค์ทำให้ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของกลุ่มทดลองหลังการฝึกเป็นเวลา 10 สัปดาห์(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.90 คิดเป็นร้อยละ 73.00 อยู่ในระดับดี) มีพัฒนาการดีขึ้นกว่าก่อนได้รับการฝึก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.20 คิดเป็นร้อยละ 27.33 อยู่ในระดับน้อยที่สุด) (5) การฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายและการเล่นอย่างสร้างสรรค์ทำให้ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของกลุ่มทดลองหลังการฝึกเป็นเวลา 10 สัปดาห์ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.50 คิดเป็นร้อยละ 91.67 อยู่ในระดับดีมาก) มีพัฒนาการดีขึ้นกว่าก่อนได้รับการฝึก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.25 คิดเป็นร้อยละ 64.17 อยู่ในระดับปานกลาง)

Author Biographies

ธีรพงศ์ เจริญนาค, คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สุขศึกษาและพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พิมพา ม่วงศิริธรรม, คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาจารย์ ดร. คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาณุ กุศลวงศ์, คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาจารย์ ดร. คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

References

กิตติมา เฟื่องฟู. (2550). การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงแอโรบิก. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย.

ดวงพร พันธ์แสง. (2551). ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงโยคะที่มีต่อพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย.

ผกากานต์ น้อยเนียม. (2556). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยดิน. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้.

พัฒนา ชัชพงศ์. (2541). ทฤษฎีและปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ภาควิชาหลักสูตรและการสอน.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ค.

รวิพร ผาด่าน. (2557). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย.

ลลิตพรรณ ทองงาม. (2540). การเสริมสร้างศักยภาพด้านศิลปศึกษาของนักเรียนกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศึกษาศาสตร์.

ละไม สีหาอาจ. (2551). การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการศึกษาปฐมวัย.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2527). หลักและวิธีสอนวิชาพลศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช ผู้จัดจำหน่าย.

สมศรี เมฆไพบูลย์วัฒนา. (2551). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ร้อยดอกไม้. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย.

สายพิณ มะโนรัตน์ และคณะ. (2560). การส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อเล็กเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการครั้งที่ 2, “การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). แผนการศึกษาปฐมวัย แผนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม. วิทยาจารย์, 107(4), 57–61.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การวัดและประเมินแนวใหม่ : เด็กปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 3 [ฉบับปรับปรุงใหม่].). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ.

อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล. (2546). มหัศจรรย์นิทานพัฒนาการเจ้าตัวเล็ก. บันทึกคุณแม่, 10(124), 110–114.

Graham, George et al. (1993). Children moving : a reflective approach to teaching physical education 3rd Ed. Mountain View, Calif.: Mayfield Pub. Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-07