การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การรู้เท่าทันสื่อ, ทักษะการสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (2) เปรียบเทียบทักษะการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม (3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 50 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) ชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์ (3) แบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการรู้เท่าทันด้วย t – test แบบ Dependent Sample ผลการวิจัย พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยหลังการใช้ชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อด้านทักษะการสร้างสรรค์ นักเรียนมีการเรียนรู้ที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ทักษะการรู้เท่าทันสื่อก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยนักเรียนมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อด้านทักษะการสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนในชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (mean=4.01, SD=0.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ในด้านเนื้อหา นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ คำสั่งปฏิบัติในชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อเข้าใจง่าย ชัดเจน (mean =4.32, SD=0.62)
References
กวิสรา ทองดี. (2557). การพัฒนาระดับการรู้เท่าทันสื่อ โดยใช้ชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานความจริงเรื่องการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาสำหรับเด็กและเยาวชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, บัณฑิตวิทยาลัย.
จินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2550). ผลการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์.
จิรัสยา นาคราช. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(98), 56–69.
ชม ภูมิภาค. (2524). เทคโนโลยีทางการสอนและการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2551). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โตมร อภิวันทนากร. (2556). คิดอ่าน ปฏิบัติการเท่าทันสื่อ คู่มือสำหรับจัดกระบวนการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนรู้ทันสื่อ. กรุงเทพฯ: แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
นฤมิต พงษ์พานิช. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวคิดของดีนส์ ส่งเสริมการคิดหลากหลายทางคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาหลักสูตรและการสอน.
ปกรณ์ ประจันบาน และอนุชา กอนพ่วง. (2558). การวิจัยและพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พรทิพย์ เย็นจะบก. (2546). การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy). วารสารมนุษยศาสตร์, (11): 111–120.
พีระ จิรโสภณ และคณะ. (2559). ความรู้เท่ากันการสื่อสารยุคดิจิทัลกับบทบาทในการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการสื่อสารในสังคมไทย. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2550). การสร้างชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, คณะครุศาสตร์.
วรัชญ์ ครุจิต. (2555). รู้ทันสื่อ: แนวทาง 10 ประการในการบูรณาการ “ความรู้เท่าทันสื่อ” เข้ากับการเรียนการสอน พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท ออฟเซ็ทพลัส จำกัด.
สุลักขณา ใจองอาจ. (2561). ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนว ตามแนวการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(98), 38–53.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบความคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อุษา บิ้กกิ้นส์. (2555). รู้ทันสื่อ พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท ออฟเซ็ทพลัส จำกัด.