ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้พลศึกษา, เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ, คุณลักษณะอันพึงประสงค์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การเลือกกลุ่มที่ผู้วิจัยใช้เหตุผลในการเลือกเพื่อความเหมาะสมในการวิจัย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 1 โรงเรียนใน 8 โรงเรียน มาใช้ในการทดลอง และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบบเน้นการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม กลุ่มทดลองที่ 2 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบบเน้นผลสัมฤทธิ์กลุ่มและกลุ่มควบคุมเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ จำนวน 61 คน โดยนำมาใช้เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 54 คน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 85.50 และ 84.20 และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามหลักสูตรแกนแกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดยใช้การทดสอบ Kruskal – Wallis test ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed – Rank และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของตูกี ผลการวิจัยพบว่า
- กลุ่มทดลองที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบบเน้นการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม กลุ่มทดลองที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบบเน้นผลสัมฤทธิ์กลุ่ม และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลังการทดลอง แตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. หลังการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่ 1 ที่รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบบเน้นการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม และกลุ่มทดลองที่ 2 ที่รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบบเน้นผลสัมฤทธิ์กลุ่มมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์แตกต่างกับกลุ่มควบคุมที่รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปว่า การจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบบเน้นการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม และแบบเน้นผลสัมฤทธิ์กลุ่มมีการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่สามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นๆที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนที่มีความหลากหลายใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับผู้เรียนได้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
. (2553). แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นวรินทร์ ตาก้อนทอง. (2557). จิตสาธารณะ : คุณลักษณะเด็กไทยที่พึงประสงค์. วารสารวัดผลการศึกษา, (89), 33.
บุญครอง สีนวล. (2543). การศึกษาผลการจัดกลุ่มการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาวิทยาศษสตร์ศึกษา.
ทิศนา แขมณี. (2550). ศาสตร์การสอน พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.
ธนภัทร จันทร์สว่าง. (2552). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา.
เบญจนาฏ ใจบุญ, สุเมษย์ หนกหลัง, และนฤมล พระใหญ่. (2561). ผลของกิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจแห่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดศาลาเขื่อน(อุภัยเพชร) จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวัดผลการศึกษา, (97), 33.
ศิรสิทธิ์ จำปาขาว. (2549). การพัฒนาระบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ STAD บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สิทธิพงษ์ ปานนาค. (2556). การพัฒนาแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.
สุมาลี วงศ์ษา. (2550). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความเมตตากรุณาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา.
อนงค์ จันใด. (2550). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.
Carlos Velazquez Callado. (2012). Analysis of the Effects of the Implementation of Cooperative Leaning in Physical Education.
Hasmyati, Suwardi. (2018). Experimentation of Cooperative Learning Model STAD – TGT Type against Students’ Learning Results.
Johnson, D.W. & Johnson, R.T. (1994) Learning together and alone (4th ed.). Needham Heights, MA: Allyn and Bacon.
Marios Goudes & Evmorfia Magotsiou. (2019).The Effects of a Cooperative Physical Education Program on Student’s Social Skills.
Santiago Mendo – Lazaro*, Benito Leon – del – Barco. (2018). Cooperative Team Learning and the Development of Social Skills in Higher Education: The Variables involved.