ผลของการใช้โปรแกรม Model – Eliciting Activities เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ธัญญ์ฐิตา วงษ์เคี่ยม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พาสนา จุลรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์, โปรแกรม Model – Eliciting Activities, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา จำนวน 30 คน ที่มีคะแนนเฉลี่ยจากแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา สุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์และโปรแกรม Model – Eliciting Activities เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นหลังเข้าโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Author Biographies

ธัญญ์ฐิตา วงษ์เคี่ยม, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นิสิต สาขาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พาสนา จุลรัตน์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

References

ทิศนา แขมมณี. (2557). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประจักษ์ ปฏิทัศน์. (2559). การคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: เทคนิค พริ้นติ้ง.

พาสนา จุลรัตน์. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พินดา วราสุนันท์. (2556). ย้อนรอยการประเมินสู่มุมมองการประเมินในอนาคต. วารสารการวัดผลการศึกษา, 30(88), 12 – 21.

ภารณี ยินดี. (2556). การวิจัยแก้ปัญหาพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้เทคนิคการเสริมแรง. วารสารการวัดผลการศึกษา, 30(88), 53 – 61.

วรนารถ อยู่สุข. (2555). การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาหลักสูตรและการสอน.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานประจำปี 2561. กรุงเทพมหานคร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท) กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2553). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุคนธ์ สินธพานนท์, และคณะ. (2552). พัฒนาทักษะการคิด พิชิตการเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 4 ed.). กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ คำมูล. (2549). กลยุทธ์การสอนคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

อัชรา เอิบสุขสิริ. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2555). ทักษะการคิด พัฒนาอย่างไร. กรุงเทพฯ: อินทร์ณน.

Balka, D. S. (1974). The Development of an Instrument to Measure Creative Ability in Mathematics. Dissertation Abstracts International. 98–A.

Chamberlin, Scott A, and Moon, S. M. (2005). Model – Eliciting Activities as a Tool to Develop and Identify Creatively Gifted Mathematicians. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=EJ746044.

Eric, and Chan Chun Ming. (2008). The Use of Mathematical Modelling Tasks to Developing Creativity. Proceedings of the Discussing Group 9 Promoting Creativity for all students in Mathematics Education of the 11th International Congress on Mathematical Education, 2008 July 6 – 13; Monterrey, Mexico, 207 – 216.

Haylock, D. W. (1985). Conflicts in the assessment and encouragement of mathematical creativity in schoolchildren. International Journal of Mathematical Education in Science and Technology. 16, 547 – 553.

Helena Margaretha Wessels. (2014). Levels of mathematical creativity in model – eliciting activities. Retrieved from http://proxy.furb.br/ojs/index.php/modelling/article/view/4048

Lesh, R., et al. (2000). Principles for Developing Thought – Revealing Activities for Students and Teachers. In A. Kelly, R. Lesh (Eds.), Research Design in Mathematics and Science Education. (pp. 591 – 646). Lawrence Erlbaum Associates, Mahwah, New Jersey.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-07