การประเมินผลการจัดบริการวิชาการแก่ชุมชน: โครงการการบูรณาการการวัดประเมินและการวิจัยในการจัดการเรียนการสอน
คำสำคัญ:
การประเมินผล, บริการวิชาการแก่ชุมชน, การวัดประเมิน, การวิจัย, การจัดการเรียนการสอนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการการบูรณาการการวัดประเมินและการวิจัยในการจัดการเรียนการสอน และจัดทำข้อเสนอแนะและสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สำหรับการจัดทำโครงการการบูรณาการการวัดประเมินและการวิจัยในการจัดการเรียนการสอนครั้งต่อไป โดยจัดโครงการ 2 ครั้ง มีกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโครงการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 71 คน คือ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 บุคลากรสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครนายก และผู้เข้าร่วมโครงการจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย กลุ่มที่ 2 จำนวน 27 คน คือ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 และผู้เข้าร่วมโครงการจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย การประเมินดำเนินการตามรูปแบบการประเมินของเคิร์กแพทริค ประกอบด้วย 4 ระดับ พบว่า 1) การประเมินปฏิกิริยาของผู้รับการอบรมด้านสถานที่ ระยะเวลา อาหาร สื่อ อุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่โครงการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2) การประเมินการเรียนรู้มีคะแนนหลังรับการอบรมมากกว่าก่อนรับการอบรม รวมทั้งได้รับคำแนะนำอันเป็นประโยชน์ต่อนำไปพัฒนาการวิจัย 3) การประเมินพฤติกรรมจากการนำความรู้ภายหลังรับการอบรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การออกแบบการวิจัย และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการการวัดประเมินและการวิจัยในการจัดการเรียนการสอนมากกว่าก่อนรับการอบรม 4) การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อองค์กรซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการการวัดประเมินและการวิจัยในการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด
References
กัลยวิสาข ธาราวร. (2556). การประเมินความตองการจําเปนของครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรูของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา.
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พริ้นท์ (1998) จำกัด.
พรรษวุฒิ จูโพธิ์แก้ว. (2560). การประเมินการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศของโรงเรยนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 34(95): 39-46.
เพ็ญนภา กุลวงศ์. (2560). การประเมินโครงการพัฒนาความรู้ด้านการวัดและประเมินผลของครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 34(96): 45-54.
มณีรัตนา โนนหัวรอ. (2557). การศึกษาผลของการประเมินเสริมพลังอํานาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะของครูประจําการดานการวัดและประเมินผลการเรียนรูของนักเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาการทดสอบและวัดผลการศึกษา.
สุเทพ อ่วมเจริญ. (2554). การพัฒนารูปแบบการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 3(1,2), 24-37.
Creswell, J.W. (2012). Education research. Edwards Brothers, Inc.
Kirkpatrick, D.L. (1975). Techniques for Evaluating Training Programs. American Society for Training and Development.
Zeichner, K. (1999). The new scholarship in teacher education. Educational Researcher, 28(9), 4-15.